การศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมปกปิดสองทาง เปรียบเทียบการใช้มอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัมและ 0.1 มิลลิกรัมทางช่องน้ำไขสันหลัง ควบคู่กับการใช้พาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำ ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดข้างเดียว

ผู้แต่ง

  • สุทัศนา ชัยมานะการ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดข้างเดียว, พาราเซตามอล, มอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง, ความปวดหลังผ่าตัด, ผลข้างเคียง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดหลังผ่าตัด และผลข้างเคียงของการใช้มอร์ฟีน 0.1 และ 0.2 มิลลิกรัมทางช่องน้ำไขสันหลัง ควบคู่กับการใช้พาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำ ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดข้างเดียว

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมปกปิดสองทางในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดข้างเดียวในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน ผู้ป่วยถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังขนาด 0.1 และ 0.2 มิลลิกรัม ทุกรายได้รับยาพาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำ เปรียบเทียบคะแนนความปวดหลังผ่าตัด ผลข้างเคียงของมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง และคะแนนความพึงพอใจหลังการได้รับการระงับความรู้สึก

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง 0.1 มิลลิกรัม และ 0.2 มิลลิกรัมจำนวนกลุ่มละ 25 ราย พบว่าคะแนนความปวด การขอยาแก้ปวดเพิ่มเติมไม่แตกต่างกันในช่วง 6-48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด อาการคลื่นไส้อาเจียนพบว่ากลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีน ทางช่องน้ำไขสันหลังขนาด 0.2 มิลลิกรัมมีมากกว่ากลุ่ม 0.1 มิลลิกรัมในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาแก้ปวดทรามาดอลเพิ่มเติม ทั้งในช่วง 6 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด (52% และ 16% ตามลำดับ; p-value = 0.02) และ 6-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด (28% และ 4% ตามลำดับ; p-value = 0.04) อาการคันพบว่ากลุ่มที่ได้รับมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังขนาด 0.2 มิลลิกรัม มีมากกว่ากลุ่ม 0.1 มิลลิกรัมในช่วง 6 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด (44% และ 12% ตามลำดับ; p-value = 0.02) ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนการกดการหายใจ คะแนนความพึงพอใจหลังการได้รับการระงับความรู้สึกไม่แตกต่างกัน

สรุป : การใช้ยาพาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำควบคู่กับมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังขนาด 0.1 มิลลิกรัม ให้การระงับปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลข้างเคียงเรื่องคลื่นไส้อาเจียนและคันน้อยกว่า

คำสำคัญ : การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดข้างเดียว, พาราเซตามอล, มอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง, ความปวดหลังผ่าตัด, ผลข้างเคียง

เอกสารอ้างอิง

Cheah JW, Sing DC, Hansen EN, Aleshi P, Vail TP. Does intrathecal morphine in spinal anesthesia have a role in modern multimodal analgesia for primary total joint arthroplasty? J Arthroplasty 2018; 33(6) : 1693-98.

Gehling M, Tryba M. Risks and side-effects of intrathecal morphine combined with spinal anaesthesia : a meta-analysis. Anaestheia 2009; 64(6) : 643.

Hassett P, Ansari B, Gnanamoorthy P, et al. Determination of the efficacy and side-effect profile of lower doses of intrathecal morphine in patients undergoing total knee arthroplasty. BMC Anesthesiol 2008; 8 : 5.

Grape S, Kirkham KR, Baeriswyl M, Albrecht E. The analgesic efficacy of sciatic nerve block in addition to femoral nerve block in patients undergoing total knee arthroplasty: a systemic review and meta-analysis. Anaesthesia 2016; 71(10) : 1198-1209.

Ilfeld BM, Loland VJ, Sandhu NS, Suresh PJ, Bishop MJ, Donohue MC, et al. Continuous femoral nerve blocks: the impact of catheter tip location relative to the femoral nerve (anterior versus posterior) on quadriceps weakness and cutaneous sensory block. Anesth Analg 2012; 115(3) : 721-7.

Bauer M, Wang L, Onibonoje OK, Parrett C, Sessler DI, Mounir-Soliman, et al. Continuous femoral nerve blocks : decreasing local anesthetic concentration to minimize quadriceps femoris weakness. Anesthesiology 2012; 116(3) : 665-72.

Andersen LO, Kehlet H. Analgesic efficacy of local infiltration analgesia in hip and knee arthroplasty : a systemic review. Br J Anaesth 2014; 113 : 360-74.

Seangleulur A, Vanasbodeekul P, Prapaitrakool S, Worathongchai S, Anothaisintawee T, McEvoy M, et al. The efficacy of local infiltration analgesia in the early postoperative period after total knee arthroplasty: A systemic review and meta-analysis. Eur J Anaesthesiol 2016; 33 : 816-31.

C. Pathonsamit, I. Onklin, N. Hongku, P. Chaiyakit. Randomized Double-Blind Controlled Trial Comparing 0.2 mg, 0.1 mg, and No Intrathecal Morphine Combined With Periarticular Injection for Unilateral Total Knee Arthroplasty. Arthroplast Today 2021; 7 : 253-9.

Turnbull ZA, Sastow D, Giambrone GP, Tedore T. Anesthesia for the patient undergoing total knee replacement : current status and future prospects. Local Reg Anesth 2017; 10:1-7.

Webb CA, Mariano ER. Best multimodal analgesic protocol for total knee arthroplasty. Pain Manag 2015; 5 : 185-96.

Jozwiak-Bebenista M, Nowak JZ. Paracetamol: mechanism of action, applications and safety concern. Acta Pol Pharm 2014; 71(1) : 11-23.

Liqing Yang, Shuai Du, Yuefeng Sun. Intravenous acetaminophen as an adjunct to multimodal analgesia after total knee and hip arthroplasty: A systemic review and meta-analysis. Int J Surg 2017; 47 : 135-46.

Murata-Ooiwa M, Tsukada S, Wakui M. intravenous Acetaminophen in Multimodal Pain Management for Patients Undergoing Total Knee Arthroplasty: A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial. J Arthroplasty 2017; 32(10) : 3024-8.

O’Neal JB, Freiberg AA, Yelle MD, Jiang Y, Zhang C, Gu Y, et al. Intravenous vs Oral Acetaminophen as an Adjunct to Multimodal Analgesia After Total Knee Arthroplasty: A Prospective, Randomized, Double-Blind Clinical Trial. J Arthroplasty 2017; 32(10) : 3029-33.

Rathmell J.P., Pino C.A., Taylor R., Patrin T., and Viani B.A. : Intrathecal morphine for postoperative analgesia : a randomized, controlled, dose-ranging study after hip and knee arthroplasty. Anesth Analg 2003; 97(5) : 1452-57.

Moraitis, A., Hultin, M., and Wallden, J. Risk of postoperative nausea and vomiting in hip and knee arthroplasty : a prospective cohort study after spinal anaesthesia including intrathecal morphine. BMC Anesthesiology 2020; 20 : 242.

M. Gehling, and M. tryba. Risks and side-effects of intrathecal morphine combined with spinal anaesthesia : a meta-analysis. Anaesthesia 2009; 64 : 643-51.

McNicol ED, Ferguson MC, Haroutounian S, Carr DB, Schumann R. Single dose intravenous paracetamol or intravenous propacetamol for postoperative pain. Cochrane Database Syst Rev. 2016.

Politi JR, Davis RL, Matrka AK. Randomized Prospective Trial Comparing the Use of Intravenous versus Oral Acteaminophen in Total Joint Arthroplasty. J Arthroplasty 2017; 32(4): 1125-7.

Gonvers E, El-Boghdadly K, Grape S, Albrecht E. Efficacy and safety of intrathecal morphine for alalgesia after lower joint arthroplasty: a systematic review and meta-analysis with meta-regression and trial sequential analysis. Anaesthesia 2021; 76(12): 1648-58.

Krittin Kittikornchaichan. Acute Pain Management with Intravenous Paracetamol. Thai J Anesthesiol 2019; 45(3): 117-23.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-09

วิธีการอ้างอิง

ชัยมานะการ สุทัศนา. 2023. “การศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมปกปิดสองทาง เปรียบเทียบการใช้มอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัมและ 0.1 มิลลิกรัมทางช่องน้ำไขสันหลัง ควบคู่กับการใช้พาราเซตามอลทางหลอดเลือดดำ ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมดข้างเดียว”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (4). Nakhonsawan Thailand:226-33. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13946.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)