การพัฒนาเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองที่ใส่ External ventricular drainage โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และนวัตกรรมในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • อรุณี หล่อนิล โรงพยาบาลอุทัยธานี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, เครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลัง (External ventricular drainage), ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองที่ใส่ External ventricular drainage ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้เครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองที่ใส่ External ventricular drainage ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เชิงทดลองเปรียบเทียบก่อน–หลังการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังแบบเดิม นวัตกรรมและเครื่องมือสำเร็จรูป และแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แพทย์ศัลยกรรมประสาท พยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุทัยธานีจำนวน 13 คน 2) ผู้ป่วยที่ผ่าตัดสมองที่ใส่สาย External ventricular drainage ที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุทัยธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 ถึงเดือนตุลาคม 2564 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยแพทย์ผู้รักษาตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 20 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ 1 กลุ่มที่ใช้เครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังแบบเดิม 10 ราย และกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ใช้นวัตกรรมเครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลัง 10 ราย

การวิเคราะห์ข้อมูล : ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง Kruskall-Wallis Test และ Mann-whiney U test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลการใช้นวัตกรรมกับเครื่องมือแบบเดิม และแบบสำเร็จรูปกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value< 0.05

ผลการวิจัย : เครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังประกอบด้วย 1) Laser pointer ตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังการทำให้มีความแม่นยำและประหยัดเวลา 2) ไม้บรรทัดทีมีมาตราวัดชัดเจนทำให้เกิดความเที่ยงตรง 3) ตัวรัดกระเปาะทำให้ไม่เลื่อนหลุด 4) มีตะกร้ารองรับถุงน้ำไขสันหลังทำให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และ 5)ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับ Set EVD สำเร็จรูป พยาบาลและแพทย์ผู้ใช้เครื่องมือมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของเครื่องมืออยู่ในระดับดีมากและดีมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Mann-whiney U test พบว่าการเลื่อนหลุดของการตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลัง, การเกิดภาวะ Increase intracranial pressure และการใช้เวลาในการตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.05)

สรุป : นวัตกรรมใช้เวลาในการตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลังน้อยที่สุด Laser pointer ทำให้การตั้งระดับจุดหยดของน้ำไขสันหลังถูกต้องแม่นยำ ซึ่งอุปกรณ์นี้ติดตั้งง่าย สะดวกในการใช้งาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยเนื่องจากแสงเลเซอร์เป็นอันตรายต่อนัยน์ตา ก่อนการใช้ Laser pointer ให้ปิดตาผู้ป่วยก่อนทุกครั้ง

คำสำคัญ : นวัตกรรม, เครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลัง (External ventricular drainage),ประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

ณัฏฐชา เจียรนิลกุล, เอก หังสสูต. ชุดสายระบายน้ำไขสันหลังรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2547;10(3)193-203.

Mark S. Greenberg. Handbook of Neurosurgery (6 th ed.). New York : Thieme Medical Publishers. 2006.

Serarslan Y, Yilmaz A, Çakır M, Güzel E, Akakin A, Güzel A, et al. Use of programmable versus nonprogrammable shunts in the management of normal pressure hydrocephalus : a multicenter retrospective study with cost-benefit analysis in Turkey. Medicine (Baltimore).2017 Sep;96(39):e8185.

นิตยา อังพานิชเจริญ. เครื่องมือตั้งระดับจุดหยดน้ำไขสันหลัง. วารสารการพยาบาลศิริราช 2550; 1(2), 47-53.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง : มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล 2561; 33(2), 15-28.

Chan JW, Gombart ZJ, Rogers S, Gardiner SK, Cecil S & Bullock RM. Pupillary reactivity as an early indicator of increased intracranial pressure: the introduction of the Neurological Pupil Index. Surg Neurol Int 2011; 2(82), 1-7.

Fan JY. Effect of backrest position on intracranial pressure and cerebral perfusion pressure in individuals with brain injury: a systemic review, JNW 2004; 36(5), 278-88.

Sankhyan N, Raju V, Sharma S & Gulati S. Management of raised intracranial pressure. Indian. J pp Pediatr 2010; 77, 1409-16.

Pederson CM, Rosendahl-Nielsen M, Hjermind J & Egerod I. Endotracheal suctioning of the adult intubated patient- what is the evidence?. Intensive Crit Care Nurse 2009; 25, 21-30.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

วิธีการอ้างอิง

หล่อนิล อรุณี. 2023. “การพัฒนาเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองที่ใส่ External Ventricular Drainage โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และนวัตกรรมในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุทัยธานี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (4). Nakhonsawan Thailand:234-42. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13981.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)