แนวโน้มอุบัติการณ์และการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สนธยา ชีช้าง โรงพยาบาลสิชล

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, การติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

บทนำ: การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุให้อาการของผู้ป่วยมีความรุนแรงขึ้นและต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาและประเภทของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลสิชล

วิธีการศึกษา: การศึกษาแนวโน้มอุบัติการณ์และการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Cross-sectional descriptive study) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 112 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากร อัตราอุบัติการณ์ (Incidence rate) และสัดส่วนของเชื้อจำแนกตามการดื้อยา

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 55.4 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 66.1 เป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 59.8 ระยะเวลาการนอนเฉลี่ย 18.2 วัน การติดเชื้อดื้อยาหลายขนานพบในระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุด ร้อยละ 42.9 ชนิดเชื้อดื้อยาที่พบมากที่สุดคือเชื้อ Escherichia coli (E.coli) ร้อยละ 38.0 ประเภทการดื้อยาที่พบมากที่สุดและมีแนวโน้มสูงขึ้นคือ MDR (Multi-drug resistance) และ ESBL (Extended-spectrum -lactamases) ร้อยละ 86.8 การดื้อยาในกระแสเลือด 8 ชนิด พบเชื้อ E.coli มากที่สุด ร้อยละ 91.1 ประเภทการติดเชื้อที่พบมากที่สุดคือ เชื้อก่อโรค (Pathogen) ร้อยละ 76.7 แหล่งรับเชื้อที่พบมากที่สุดคือ โรคติดเชื้อที่เกิดในชุมชน (Community acquired Infection) ร้อยละ 55.4 และจำหน่ายผู้ป่วยจากการรักษาแบคทีเรียดื้อยาด้วยอาการดีขึ้น (Improve) ร้อยละ 76.7

สรุป: การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพบในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุและติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเชื้อที่พบการดื้อยามาก ที่สุดคือ เชื้อ E.coli

คำสำคัญ: อุบัติการณ์, การติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อดื้อยา

เอกสารอ้างอิง

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, ศิริตรี สุทธจิตต์, สิตานันท์ พูลผลทรัพย์, รุ่งทิพย์ ชวนชื่น, ภูษิต ประคองสาย. ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

รุ่งทิพย์ แก้วอุ่น, ขนิษฐา ไทยคานาม, พิภาภรณ์ สุทธิแสน, สโรชา วิสัย, บุญเลี้ยง สุพิมพ์. พฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพ: กรณีศึกษาประชาชนบ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2562;8(2):43-54.

สุกัญญา บัวชุม, ไพโรจน์ โจวตระกูล, สุชาดา วงพระจันทร์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem : CRE ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2563;1 :3-14.

Neill JO. Review on antimicrobial resistance. Antimicrobial resistance: Tackling a crisis for the health and wealth of nations [Internet]. 2014 [Cited 20 May 2022]. Available from https://amrreview.org/sites/default/files/AMR%20Review%20Paper%20%20Tackling%20a%20crisis%20for%20the%20health%20and%20wealth%20of%20nations_1.pdf

Zhang Y, Wang Q, Yin Y, Chen H, JinL, Gu B, et al. Epidemiology of Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae Infections: Report from the China CRE Network. Antimicrobial agent and chemotherapy. 2018;62:e01882-17.

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center Thailand (NARST). Antimicrobial Resistance 2000-2016 [Internet] 2017. [Cited 20 June 2023] Available from http://narst.dmsc.moph.go.th

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 2000-2018 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://narst.dmsc.moph.go.th

โรงพยาบาลสิชล. เวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล. นครศรีธรรมราช; 2564.

ชาคริต ขันแข็ง, พีชานิกา ชอบจิตต์, อนุศักดิ์ เกิดสิน, เบ็ญจวรรณ คำแหงพล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาโคลิสตินของผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2565;11:66-78.

Krejcie R.V, Morgan D.W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30:607-10.

ทองเปลว ชมจันทร์ และประภาพรรณ สิงโต.การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2565;4:1-16.

สุพรรณี ยิ่งขจร, สตา สุทธิโชติ, นิธิกุล หงส์ทอง, ตั้ม บุญรอดม, วิชชาดา สิมลา, ศิริ”รัตน์ ศรีรักษา. การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในโรงพยาบาล.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30 :9:16-27.

ชุมพร บ้านกล้วย. การศึกษาความชุกของเชื้อจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพ.วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2015;9:1-8.

Mahmoudi S, Mahzari M, Banar M, Pourakbari B, Ash¬tiani MTH, Mohammadi M, et al. Antimicrobial resistance patterns of Gram-negative bacteria isolated from blood¬stream infections in an Iranian referral pediatric hospital: A 5.5-year study. Journal of Global Antimicrobial Resistance. 2017;11:17-22.

Ma X, Cui J, Wang J, Chang Y, Fang Q, Bai C, et al. Multicentre investigation of pathogenic bacteria and an¬tibiotic resistance genes in Chinese patients with acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease. Journal of International Medical Research 2015;43:699-710.

ชัยพร การะเกตุ. ความชุกของเชื้อ K. pneumoniae และ E. coli ชนิดสร้างเอนไซม์ extended spectrum -lactamase ที่โรงพยาบาลเชียงคำ ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร 2555;28 (Suppl 1) :21-30

นิตยา อินทราวัฒนาและมุทิตา วนาภรณ์. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2015;22:81-92.

ปิยพัชร จึงสมานุกูล. อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยง อัตราตายและผลกระทบของการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดดื้อยาหลายขนานในกระแสเลือด โรงพยาบาลโพธาราม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565;41:579-92.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22

วิธีการอ้างอิง

ชีช้าง สนธยา. 2024. “แนวโน้มอุบัติการณ์และการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (1). Nakhonsawan Thailand:23-30. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14286.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)