อัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ด้วยสารรังสีไอโอดีนแบบครั้งแรก ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • กรกฎ สิรเกรียงไกร โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

อัตราการรักษาสำเร็จ, โรคไทรอยด์เกรฟส์, สารรังสีไอโอดีน-131

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ถึงแม้ว่าข้อดีของการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษชนิดไทรอยด์เกรฟส์ (Graves’ disease) ด้วยวิธีกำหนดปริมาณ รังสีไอโอดีน-131 คงที่ตามขนาดของต่อมไทรอยด์คือสะดวกและคุ้มทุน แต่อัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาด้วยวิธีนี้ยังไม่ชัดเจน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัย ที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ ด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 แบบครั้งแรกในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไทรอยด์เกรฟส์ และได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ สิงหาคม 2561 ถึง มกราคม 2565 โดยประเมินจากการคลำขนาดต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วย แบ่งเป็น ขนาดน้อยกว่าเท่ากับ 50 กรัม 51-100 กรัม 101-150 กรัม 151-200 กรัม และมากกว่า 200 กรัม จะได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ที่ปริมาณ 10 15 20 25 และ 30 มิลลิคูรี่ ตามลำดับ และมีการบันทึกข้อมูลทางคลินิกและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาด้วย Logistic Regression Analysis

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 257 ราย (ร้อยละ 68.5) อายุเฉลี่ย 42.0±13.5 ปี พบว่ามีผู้ป่วยที่รักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 แบบครั้งแรกสำเร็จ 236 ราย (ร้อยละ 62.9) ส่วนใหญ่เป็นแบบ Overt Hypothyroid 151 ราย (ร้อยละ 40.3) เมื่อวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษา ได้แก่ ขนาดต่อมไทรอยด์ 101-150 กรัม (Adjusted OR 1.91, 95%CI 1.11-3.99, p-value=0.04) ขนาดต่อมไทรอยด์ 151-200 กรัม (Adjusted OR 6.50, 95%CI 2.19-19.33, p-value<0.001) และระยะเวลาตั้งแต่การวินิจฉัยจนถึงการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 มากกว่า 18 เดือน (Adjusted OR 1.91, 95%CI 1.17-3.14, p-value=0.01)

สรุป: อัตราการรักษาสำเร็จของโรคไทรอยด์เกรฟส์ ด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 แบบครั้งแรกด้วยวิธีการรักษาแบบกำหนดปริมาณรังสีไอโอดีน-131 คงที่ตามขนาดของต่อมไทรอยด์ อยู่ที่ร้อยละ 62.9 ขนาดต่อมไทรอยด์ที่ใหญ่และระยะเวลาตั้งแต่วินิจฉัยจนถึงการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ที่นานมากกว่า 18 เดือน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการรักษา

คำสำคัญ: อัตราการรักษาสำเร็จ, โรคไทรอยด์เกรฟส์, สารรังสีไอโอดีน-131

เอกสารอ้างอิง

Ross DS, Burch HB, Cooper DS, Greenlee MC, Laurberg P, Maia AL, et al. 2016 American Thyroid Association Guidelines for Diagnosis and Management of Hyperthyroidism and Other Causes of Thyrotoxicosis. Thyroid 2016;26:1343-421.

Kahaly GJ, Bartalena L, Hegedüs L, Leenhardt L, Poppe K, Pearce SH. 2018 European Thyroid Association Guideline for the Management of Graves’ Hyperthyroidism. Eur Thyroid J 2018;7: 167-86.

Okosieme OE, Taylor PN, Evans C, Thayer D, Chai A, Khan I, et al. Primary therapy of Graves’ disease and cardiovascular morbidity and mortality: a linked-record cohort study. Lancet Diabetes Endocrinol 2019;7:278-87.

Subekti I, Pramono LA. Current Diagnosis and Management of Graves’ Disease. Acta med Indones 2018;50(2):177-82.

Silberstein EB, Alavi A, Balon HR, Clarke SE, Divgi C, Gelfand MJ, et al. The SNMMI practice guideline for therapy of thyroid disease with 131I 3.0. J Nucl Med 2012;53:1633-51.

Canto AU, Dominguez PN, Jimeno CA, Obaldo JM, Ogbac RV. Comparison of Fixed versus Calculated Activity of Radioiodine for the Treatment of Graves Disease in Adults. Endocrinol Metab (Seoul, Korea) 2016;31:168-73.

Kalinyak JE, McDougall IR. How should the dose of iodine-131 be determined in the treatment of Graves’

hyperthyroidism? J Clin Endocrinol Metab 2003;88:975-7.

Park H, Kim HI, Park J, Park SY, Kim TH, Chung JH, et al. The success rate of radioactive iodine therapy for Graves’ disease in iodine-replete area and affecting factors: a single-center study. Nucl Med Commun 2020;41:212-8.

Wong KK, Shulkin BL, Gross MD, Avram AM. Efficacy of radioactive iodine treatment of graves’ hyperthyroidism using a single calculated (131)I dose. Clin Diabetes Endocrinol 2018;4:20.

Sztal-Mazer S, Nakatani VY, Bortolini LG, Boguszewski CL, Graf H, de Carvalho GA. Evidence for higher success rates and successful treatment earlier in Graves’ disease with higher radioactive iodine doses. Thyroid 2012;22:991-5.

Shalaby M, Hadedeya D, Toraih EA, Razavi MA, Lee GS, Hussein MH, et al. Predictive factors of radioiodine therapy failure in Graves’ Disease : A meta-analysis. Am J Surg 2022;223:287-96.

Kuanrakcharoen P. Success Rates and their Related Factors in Patients Receiving Radioiodine (I-131) Treatment for Hyperthyroidism. J Med Assoc Thai 2017;100 Suppl 1:S183-91.

Vija Racaru L, Fontan C, Bauriaud-Mallet M, Brillouet S, Caselles O, Zerdoud S, et al. Clinical outcomes 1 year after empiric 131I therapy for hyperthyroid disorders: real life experience and predictive factors of functional response. Nucl Med Commun 2017;38:756-63.

Walter MA, Briel M, Christ-Crain M, Bonnema SJ, Connell J, Cooper DS, et al. Effects of antithyroid drugs on radioiodine treatment : systematic review and meta-analysis of randomised controlled trials. BMJ 2007;334:514.

Bonnema SJ, Bennedbaek FN, Veje A, Marving J, Hegedüs L. Propylthiouracil before 131I therapy of hyperthyroid diseases : effect on cure rate evaluated by a randomized clinical trial. J Clin Endocrinol Metab 2004;89:4439-44.

Pirnat E, Zaletel K, Gaberšček S, Hojker S. The outcome of 131I treatment in Graves’ patients pretreated or not with methimazole. Hell J Nucl Med 2011;14:25-9.

Bonnema SJ, Hegedüs L. Radioiodine therapy in benign thyroid diseases: effects, side effects, and factors affecting therapeutic outcome. Endocr Rev 2012;33:920-80.

Kobe C, Weber I, Eschner W, Sudbrock F, Schmidt M, Dietlein M, et al. Graves’ disease and radioiodine therapy. Is success of ablation dependent on the choice of thyreostatic medication? Nuklearmedizin Nuclear medicine. 2008;47(4):153-6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

วิธีการอ้างอิง

สิรเกรียงไกร กรกฎ. 2023. “อัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ด้วยสารรังสีไอโอดีนแบบครั้งแรก ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (1). Nakhonsawan Thailand:8-14. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14336.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)