การประเมินการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2566

ผู้แต่ง

  • กำจร พงศ์ศิริ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 1.1 แม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความรู้, การปฏิบัติตน, โรคไข้มาลาเรีย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งสิ้น 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสำหรับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ (Chi-Square test)

ผลการศึกษา: นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.5 มีการรับรู้ต่อโรคไข้มาลาเรีย และสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.21 และ 2.15 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย พบว่าผู้ที่พักอาศัยที่เดียวกันป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) อายุมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ต่อโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) เพศ การพักอาศัย การป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย และผู้ที่พักอาศัยที่เดียวกันป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับระดับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05)

สรุป: จากการวิจัยครั้งนี้ ควรจัดให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคไข้มาลาเรียในเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้มีความรู้ การรับรู้ และสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้มาลาเรียได้อย่างถูกต้องและเกิดความยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ: การรับรู้, ความรู้, การปฏิบัติตน, โรคไข้มาลาเรีย

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Centers for Disease Control and Prevention. Anopheles Mosquitoes. [Internet]. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention. [cited 2023 Apr 1]. Available from: http://www.cdc.gov/malaria/about/biology/mosquitoes/

World Health Organization. World malaria report 2022. Geneva: World Health Organization; 2022.

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 1.1 แม่ฮ่องสอน. (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่แพร่เชื้อสูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง) พ.ศ. 2566 – 2569. แม่ฮ่องสอน: ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 1.1 แม่ฮ่องสอน; 2566.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/report/report_mod2.php

ธนวรรธณ์ อิ่มสมบูรณ์. พฤติกรรมสุขภาพและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2546.

Gochman DS. Labels, systems and motives: some perspectives for future research and programs. Health Educ Q 2012;19(2-3):263-270.

วันชัย สีหะวงษ์, วรสิทธ์ไหลหลัง และฤชุอร วงศ์ภิรมย์. พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียของประชาชนพื้นที่ชายแดนไทย-ลาวและกัมพูชาเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 11 และ 14. อุบลราชธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี; 2556.

ประเดิม มณีแดง และดาราวรรณ รองเมือง. วิถีชีวิต ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ส่งผลต่อการเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างชาติชาวพม่า ในตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 2559;3(3):77-97.

กันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ, วันชัย เหล่าเสถียรกิจ, พุทธิไกร ประมวล และรัตภรณ์ วรเลิศ. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเขตเทือกเขาพนมดงรัก จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2563;18(1):84-96

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17

วิธีการอ้างอิง

พงศ์ศิริ กำจร. 2024. “การประเมินการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2566”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (2). Nakhonsawan Thailand:91-100. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14825.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)