ความแม่นยำในการวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เปรียบเทียบระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาและการใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสในโรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สลิล สมุทรรังสี โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร, การตรวจทางพยาธิวิทยา, ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส, ค่าความเเม่นยำ, ค่าความไว, ค่าความถูกต้อง

บทคัดย่อ

ที่มา: แบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori; H. pylori) ก่อให้เกิดอาการต่อทางเดินอาหารได้หลากหลาย ได้แก่ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลและภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นรวมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

หลักการและเหตุผล: การตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร แต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่สูง ต้องอาศัยแพทย์พยาธิวิทยา ปัจจุบันมีการใช้ชุดตรวจสำเร็จเพื่อหาเอนไซม์ยูรีเอสจากเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ข้อดีคือ ตรวจได้ทันทีขณะที่ทำการส่องกล้องกระเพาะอาหาร ทราบผลเร็วภายใน 1 ชั่วโมง และค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการตรวจทางพยาธิวิทยา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแม่นยำในการวินิจฉัยการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เปรียบเทียบระหว่างการตรวจทางพยาธิวิทยาและชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง จากผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นในรพ. ชลบุรีตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 786 ราย ที่เข้ารับการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นที่ได้รับการตรวจทั้งพยาธิวิทยาและชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส พบเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร 194 ราย (ร้อยละ 24.68) การตรวจทางพยาธิวิทยามีค่า Accuracy ร้อยละ 98.3, Sensitivity ร้อยละ 93.3 และค่า Specificity ร้อยละ 100 ในขณะที่การตรวจโดยใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส มีค่า Accuracy ร้อยละ 92.5, Sensitivity ร้อยละ 84.5 และค่า Specificity ร้อยละ 100 จากการวิเคราะห์ Univariate Analysis พบว่าการใช้ยาแก้ปวด NSAIDs มีผลให้การตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ให้ผลบวกเฉพาะต่อการตรวจพยาธฺวิทยาแต่ให้ผลลบในการตรวจโดยใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส (Odd ratio2.1, Cl1.29-3.17, p-value=0.002)

สรุป: ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสสามารถตรวจพบการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ได้แม่นยำใกล้เคียงกับการตรวจทางพยาธิวิทยาและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการตรวจทางพยาธิวิทยา

คำสำคัญ: เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร, การตรวจทางพยาธิวิทยา, ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส, ค่าความเเม่นยำ,ค่าความไว, ค่าความถูกต้อง

เอกสารอ้างอิง

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, et al. Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA Cancer J Clin 2021;71:209-49.

Sugano K, Tack J, Kuipers EJ, Graham DY, El-Omar EM, Miura S, et al. Kyoto global consensus report on Helicobacter pylori gastritis. Gut 2015;64:1353-67.

Ansari S, Yamaoka Y. Current understanding and management of Helicobacter pyloriinfection: an updated appraisal. F1000Res 2018;7.

Kuntaraksa N. Diagnostic Test for Helicobacter pylori infection. 2009;3:45-54.

Aumpan N, Mahachai V, Vilaichone RK. Management of Helicobacter pylori infection. JGHOpen 2023;7:3-15.

Katelaris P, Hunt R, Bazzoli F, Cohen H, Fock KM, Gemilyan M, et al. Helicobacter pylori World Gastroenterology Organization Global Guideline. J Clin Gastroenterol 2023;57:111-26.

Mahachai V, Vilaichone RK, Pittayanon R, Rojborwonwitaya J, Leelakusolvong S,Maneerattanaporn M, et al. Helicobacter pylori management in ASEAN: The Bangkok consensus report. J Gastroenterol Hepatol 2018;33:37-56.

Liou JM, Malfertheiner P, Lee YC, Sheu BS, Sugano K, Cheng HC, et al. Screening and eradication of Helicobacter pylori for gastric cancer prevention: the Taipei global consensus. Gut 2020;69:2093-112.

Miftahussurur M, Yamaoka Y. Diagnostic Methods of Helicobacter pylori Infection for Epidemiological Studies: Critical Importance of Indirect Test Validation. Biomed Res Int2016;2016:4819423.

Lee HC, Huang TC, Lin CL, Chen KY, Wang CK, Wu DC. Performance of Routine Helicobacter pylori Invasive Tests in Patients with Dyspepsia. Gastroenterol Res Pract 2013;2013:184806.

Poonyam P, Chotivitayatarakorn P, Vilaichone RK. High Effective of 14-Day High-Dose PPIBismuth-Containing Quadruple Therapy with Probiotics Supplement for Helicobacter Pylori Eradication: A Double Blinded-Randomized Placebo-Controlled Study. Asian Pac JCancer Prev 2019;20:2859-64.23

Siddique I, Mekhaizeem K, Alateeqi N. Diagnosis of Helicobacter pylori. J Clin Gastroenterol 2008; 42:356-60.

Savoldi A, Carrara E, Graham DY, Conti M, Tacconelli E. Prevalence of Antibiotic Resistance in Helicobacter pylori: A Systematic Review and Meta-analysis in World Health Organization Regions. Gastroenterology 2018;155:1372-82 e17.

Bunchorntavakul C, Buranathawornsom A. Randomized clinical trial: 7-day vonoprazan-based versus 14-day omeprazole-based triple therapy for Helicobacter pylori. Journalof Gastroenterology and Hepatology 2021;36:3308-13.

Chey WD, Leontiadis GI, Howden CW, Moss SF. ACG Clinical Guideline: Treatment of Helicobacter pylori Infection. Am J Gastroenterol 2017;112:212-39.

Malfertheiner P, Megraud F, Rokkas T, Gisbert JP, Liou JM, Schulz C, et al. Management of Helicobacter pylori infection: the Maastricht VI/Florence consensus report. Gut 2022.

Vassallo J, Hale R, Ahluwalia N. CLO vs histology optimal numbers and site of gastric biopsies to diagnose Helicobacter pylori. European Journal of Gastroenterology & Hepatology 2000;13.

Uchida T, Miftahussurur M, Pittayanon R, Vilaichone RK, Wisedopas N, Ratanachu-Ek T, et al. Helicobacter pylori Infection in Thailand: A Nationwide Study of the CagA Phenotype. PLoS One 2015;10:e0136775.

Carretero-Barrio I, Rodajo-Fernandez T, Romio E, Sanchez-Rodriguez E, VazquezSequeiros E, Perna C, et al. Comparison Between Real-time Ammonium and pH Measurement, Immunohistochemistry, and Histochemistry for the Diagnosis of Helicobacter pylori. J Clin Gastroenterol 2022;56:e263-e7.

Dechant FX, Dechant R, Kandulski A, Selgrad M, Weber F, Reischl U, et al. Accuracy of Different Rapid Urease Tests in Comparison with Histopathology in Patients with Endoscopic Signs of Gastritis. Digestion 2020;101:184-90.

Sharaf RN, Shergill AK, Odze RD. ASGE recommendation on Mucosal sampling forcommon Upper GI pathologies. GASTROINTESTINAL ENDOSCOPY 2013;78.

Mahachai V, Vilaichone RK, Pittayanon R. Thailand Consensus on Helicobacter pylori Treatment 2015. Asian Pac J Cancer Prev 2015;17:2351-60.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13

วิธีการอ้างอิง

สมุทรรังสี สลิล. 2024. “ความแม่นยำในการวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เปรียบเทียบระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาและการใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสในโรงพยาบาลชลบุรี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (2). Nakhonsawan Thailand:101-10. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15059.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)