ประสิทธิภาพของการฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการ ใช้ข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม : The Effectiveness of Acupuncture for Pain Relief and Improve Function and Daily Living in Knee Osteoarthritis Patients
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบอาการปวด อาการข้อฝืดข้อยึดและความสามารถในการใช้งานข้อใน
ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการฝังเข็ม
สถานที่ศึกษา : คลินิกฝังเข็มและระงับปวด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่มาลงทะเบียนในคลินิกฝังเข็มและระงับปวด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 31 คนเกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ คือ ผู้ป่วยทุกคนที่มาลงทะเบียนที่คลินิกฝังเข็มและระงับปวด เกณฑ์การไม่คัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการคือ ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการฝังเข็มเช่น โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือดผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ประวัติโรคตับและไตเสื่อมชนิดรุนแรงข้อเข่าอักเสบหรือยึดติดประวัติการฝังเข็มรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาประวัติการฉีดยา corticosteroid เข้าข้อภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาและผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินคะแนนความปวดได้
วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยทุกคนที่วินิจฉัยข้อเข่าเสื่อมได้รับการฝังเข็มสัปดาห์ละ 1 ครั้งจนครบ 10 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย เช่น อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย จำนวนข้างของเข่าที่ปวด และขนาดยาระงับปวดที่ได้รับ บันทึกคะแนน WOMAC ของความปวด อาการข้อฝืดข้อยึด ความสามารถในการใช้งานข้อก่อนการศึกษา สัปดาห์ที่5 และสัปดาห์ที่ 10 หลังการฝังเข็ม ประเมินความเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นและความพึงพอใจ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนของอาการปวด อาการข้อฝืดข้อยึด ความสามารถในการใช้งานข้อ และขนาดยาระงับปวดที่ใช้ลดลงก่อนการศึกษากับสัปดาห์ที่ 5 และสัปดาห์ที่ 5 กับสัปดาห์ที่ 10 หลังทำการฝังเข็ม ด้วยสถิติ dependent t-test และเปรียบเทียบความพึงพอใจหลังการฝังเข็มสัปดาห์ที่5 และสัปดาห์ที่ 10 ด้วยสถิติ Wilcoxon signed-ranks test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม อายุเฉลี่ย 61.9 ± 11.8 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ90.3 ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 28.3 ± 6.3 กิโลกรัมต่อตารางเมตรจำนวนเข่าที่ปวด 2 ข้างร้อยละ 80.6ค่าเฉลี่ยคะแนนของอาการปวด อาการข้อฝืดข้อยึด และความสามารถในการใช้งานข้อที่ก่อนการศึกษาเท่ากับ 8.6 ± 0.7, 7.1 ± 1.1 และ 7.5± 0.6สัปดาห์ที่ 5 เท่ากับ 4.1 ± 0.8,3.6 ± 0.9, และ 3.4± 0.5ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการศึกษา (P <0.001) และสัปดาห์ที่ 10 เท่ากับ 1.3 ± 1.4,1.1 ± 1.0และ 0.8 ± 0.6ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 5 (P=0.002 และ P<0.001)ส่วนค่าเฉลี่ยร้อยละของขนาดยาระงับปวดที่ใช้ลดลงในสัปดาห์ที่ 5 เท่ากับ 63.6± 17.4ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากก่อนการรักษา(p<0.001)และสัปดาห์ที่ 10 เท่ากับ88.7 ±11.9 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากสัปดาห์ที่ 5(p<0.001) การประเมินความเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นอยู่ในระดับมากร้อยละ 48.4 และการประเมินระดับความพึงพอใจหลังการศึกษาสัปดาห์ที่ 10 พบว่ามีมากที่สุดและมากตามลำดับ
สรุป : ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการฝังเข็มสัปดาห์ละ 1 ครั้งจนครบ 10 ครั้งช่วยลดอาการปวด
อาการข้อฝืดข้อยึดและมีความสามารถในการใช้งานข้อดีขึ้น
คำสำคัญ : การฝังเข็ม โรคข้อเข่าเสื่อม คะแนน WOMAC
Abstract
Objective : To compare the pain scores, stiffness and function in patients with knee osteoarthritis. Before and after acupuncture
Setting : Acupuncture and pain clinic, Sawanpracharak Hospital
Design : Experimental design with one group pretest-posttest
Subjects : 31osteoarthritis of knee patientswithout contraindication for acupuncturewho were registered at acupuncture and pain clinic, in Sawanpracharak Hospital. Exclusion criteria were patients with contraindication for acupuncture, i.e., coagulopathy, anti-coagulant user, on cardiac pacemaker, severe hepatic and renal diseases, knee joint inflammation or severestiffness, history of recent acupuncture within 6 months, history steroid injection within 6 months and who could not assess pain scores.
Method : Patients with knee osteoarthritis received acupuncture once a week for up to ten times. Demographic data included age, sex, body mass index, number of knee pain and analgesic requirement. Modified WOMAC scores : pain, stiffness, function scores were also recorded before (baseline) and during course of treatment with acupuncture (5th week and 10th week). Global assessment of change and satisfaction were recorded after completion of treatment. Data were analyzed, mean pain, stiffness, function scores and the number of analgesic drug taken were compared between pre- and post-treatment (dependent t-test). Patient satisfaction was at 5th week and 10th week by Wilcoxon signed-ranks test (p < 0.05).
Results : Mean age of the studied group was 61.9 ± 11.8 years old, with 90.3% female. Mean body mass index was 28.3 ± 6.3 kg/m2. Bilateral osteoarthritis was found in 80.6% of the patients. The baseline pain, stiffness and function mean scores at baselinewere 8.6 ± 0.7, 7.1 ± 1.1 and 7.5 ± 0.6. The scores at 5th week were 4.1±0.8(p< 0.001), 3.6±0.9 (p < 0.001) and 3.4± 0.5 (p < 0.001) and at 10th week were 1.3±1.4 (p = 0.002), 1.1± 1.0 (p < 0.001)and 0.8±0.6 (p < 0.001).At the end of the study, all the WOMAC scores were significantly decreased compared to baseline. Moreover, the number of analgesic drug used was significantlydecreased at 5th week (63.6 ± 17.4, p < 0.001)compare with baseline, and also at 10th week (88.7 ± 11.9, p < 0.001).Global assessment of change was better (48.4 %)and satisfactionwasmuch better at 10th week.
Conclusion : Treatment of knee osteoarthritis patientswith a course of acupuncture (10 times) could significantly elevate knee pain and stiffness, and improve function.
Key words : Acupuncture, Kneeosteoarthritis, Modified WOMACscores