ผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยของพยาบาล โรงพยาบาลหนองปรือ
คำสำคัญ:
โปรแกรมการพยาบาล, บาดเจ็บที่ศีรษะ, พฤติกรรมการดูแลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยของพยาบาล โรงพยาบาลหนองปรือ โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการบาดเจ็บที่ศีรษะและคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะของพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (One groups pretest - posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลหนองปรือ เก็บข้อมูลในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 27 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีม (Nutbeam, 2009) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แบบทดสอบความรู้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและแบบวัดพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (Paired t test)
ผลการศึกษา: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ มีผลต่างคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการบาดเจ็บที่ศีรษะและมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะของพยาบาลหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)
สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผล ในการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ: โปรแกรมการพยาบาล, บาดเจ็บที่ศีรษะ, พฤติกรรมการดูแล
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Global status report on road safety 2023 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2024 Oct 25]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240086517.
Thai RSC. Data compare [Internet]. Bangkok: Thai Road Safety Center; [cited 2024 Oct 25]. Available from: https://www.thairsc.com/data-compare.
กัญญาณัฐ เกิดชื่น, ยุพาพร จิตตะสุสุทโธ, ชุติมา ปัญญาประดิษฐ์. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงตั้งแต่ในโรงพยาบาลสู่การดูแลที่บ้าน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565;28(1):78-88.
Wongtanapat P, Supasri P. Nursing interventions to prevent intracranial hypertension in traumatic brain injury. MKHJ. 2023;15(2):25-40.
Somprasong K, Rattanapanya P. Critical nursing care in patients with traumatic brain injury: Airway management and oxygenation. SK Hosp J. 2023;8(1):33-50.
งานเวชระเบียน. สถิติผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองปรือ. รายงานภายในโรงพยาบาลหนองปรือ; 2566.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2009;67(12):2072-8.
Nguyen L, Tran T, Pham H. Training for healthcare professionals: Effects on knowledge and clinical practice. Health Educ Res. 2021;25(2):110-20.
Kaur M, Sharma S, Kaur R. Effectiveness of structured teaching programme on knowledge regarding head injury among staff nurses. Int J Nurs Educ. 2020;12(4):101-105.
Chaghari M, Saffari M, Ebadi A, Ameryoun A. Empowering education: A new model for in-service training of nursing staff. J Adv Med Educ Prof. 2017;5(1):26-32.
Ghasemi M, Moradi A, Hosseini SJ, Najafi F. Effect of multimedia training on knowledge and performance of nurses in the care of patients with head trauma. J Educ Health Promot. 2019;8:71. Doi:10.4103/jehp.jehp_286_18.
Jones K, Smith M, Taylor R. Impact of training programs on nursing behavior: A meta-analysis. J Nurs Educ. 2020;59(8):450-8. Doi:10.1016/j.jne.2020.04.006.
Sorensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, Brand H. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012;12:80. Doi:10.1186/1471-2458-12-80.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2025 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.