ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อเมลิออยโดสิสในระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย:Clinical Characteristics of Musculoskeletal Involvement in Melioidotic Patients in the Lower-North and the Upper-Central Region of Thailand
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระบาดวิทยาและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อเมลิออยโดสิสในระบบ
กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย
สถานที่ศึกษา : หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุมากกว่า 15 ปี ที่รักษาในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์และผลเพาะเชื้อจากฝีหนองในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก หรือน้ำเจาะข้อขึ้นเชื้อเมลิออยโดสิส ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนธันวาคม 2557
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ปัจจัยเสี่ยง ลักษณะทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นทางรังสีวิทยา การรักษาและผลการรักษา นำเสนอในรูปแบบจำนวนและร้อยละ
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน 48 คน อายุตั้งแต่ 24-84 ปี อายุเฉลี่ย 49 ปี อัตราส่วนระหว่างเพศชายต่อหญิงเท่ากับ 1.2 ต่อ 1 ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้างและเกษตรกรในชนบทและมักมีโรคประจำตัว พบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นในช่วงฤดูฝนและในปีที่เกิดอุทกภัย ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เบาหวาน อาการแสดงที่พบได้แก่ฝีหนองในชั้นกล้ามเนื้อจำนวน 26 คน (ร้อยละ 54) ข้ออักเสบจำนวน 22 คน (ร้อยละ 46) ทั้งหมดเป็นชนิดข้อเดียวถึง 4 ข้อ (mono-oligoarthritis) ส่วนใหญ่พบเพียงข้อเดียวจำนวน 15 คน (ร้อยละ 68) ส่วนใหญ่พบในข้อขนาดกลางถึงใหญ่โดยข้อที่พบมากที่สุดได้แก่เข่าจำนวน 13 คน (ร้อยละ 48) พบข้อรยางค์ มากกว่าข้อแกนกลาง พบมากในรยางค์ล่างและเป็นแบบไม่สมมาตร น้ำเจาะข้อส่วนใหญ่พบอยู่ในช่วงอักเสบ (2,000-50,000ตัวต่อมิลลิลิตร) 13 คน (ร้อยละ 72) จากผลตรวจ 18 คน เม็ดเลือดขาวเฉลี่ย 53,915 ตัวต่อมิลลิลิตร ส่วนใหญ่มีอาการเฉียบพลัน 1-14 วัน จำนวน 28 คน (ร้อยละ 58) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการตั้งแต่ 1 วันถึง 575 วัน เฉลี่ย 34 วัน ความผิดปกติในระบบอื่นที่พบมากได้แก่ปอด 23 คน (ร้อยละ 48) และอวัยวะในช่องท้อง พบผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 27 คน (ร้อยละ 56) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเป็นจนถึงได้รับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อในระยะแรกตั้งแต่ 5 ถึง 582 วัน เฉลี่ย 40 วัน ระยะเวลาตอบสนองการรักษา (นับจากเริ่มได้รับยา ที่ครอบคลุมเชื้อจนไข้ลง) ตั้งแต่ 2 ถึง 34 วัน ค่าเฉลี่ย 13 วัน ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อในระยะแรกจำนวน 38 คน (ร้อยละ 79) ผู้ป่วยที่ได้รับแผนการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับยาต่อเนื่องในระยะกำจัดเชื้อ 34 คน (ร้อยละ 71) ส่วนใหญ่ได้รับการทำหัตถการ 45 คน (ร้อยละ 94) ผู้ป่วยหนักนอนห้องผู้ป่วยวิกฤต 12 คน (ร้อยละ 25) ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 1-69 วัน เฉลี่ย 18 วัน เสียชีวิต 11 คน (ร้อยละ 23) ผู้ป่วย 3 คน (ร้อยละ 6) ต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายในหนึ่งเดือนครึ่ง
วิจารณ์และสรุป : โรคเมลิออยโดสิสในระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากและใช้เวลานานในการรักษาให้ครบระยะเวลา แพทย์ผู้รักษาควรตระหนักถึงโรคนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น เบาหวาน เป็นต้น ควรทำการสืบค้นโดยการส่งเพาะเชื้อสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อโดยเร็วที่สุดเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและให้ยาในระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
คำสำคัญ : เมลิออยโดสิส ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
Abstract
Objective : To study clinical characteristics of musculoskeletal involvement in melioidotic patients in the Lower-North and the Upper-Central Region of Thailand.
Setting : In-patient department of Sawanpracharak Hospital.
Design : Retrospective descriptive study.
Subjects : All adult patient older than 15 years old, who had positive culture result for Burkholderia pseudomallei from musculoskeletal abscess or synovial fluid in In-patient department of Sawanpracharak Hospital between January 2006 to December 2014.
Method : The medical records of 48 melioidotic patients were reviewed and analyzed for the demographic data, risk factor, clinical characteristics, laboratory and radiographic finding, treatment and outcome. Data was presented in number and percentage.
Results : Of the 48 musculoskeletal involve patients identified over 9 years, age between 24-84 years (mean=49), with male-to-female ratio of 1.2:1. Mostly patients lived in rural area (87%). The incidence was high in rainy season and after flooding in Thailand. Underlying condition was found in 85% of patients, the most common is Diabetes mellitus (71%). Clinical presentation was musculoskeletal abscess (54%) and arthritis (46%). Articular manifestations was mono-oligoarthritis, mostly monoarthritis (68%). Frequently involves medium to large joint (96%), especially knee (48%), asymmetrical presentation with lower extremities involvement were predominate. The clinical course may be acute (58%) to chronic (42%) from 1-575 days (mean= 34). 18 specimen of synovial fluid analysis was found in inflammatory range (white blood cell count 2,000-50,000 per cumm) 72% and septic range (white blood cell count >50,000 per cumm) 28% (mean white blood cell count 53,915). In extramusculoskeletal system, the lung was the most common organ involvement (48%) follow by other visceral organs. 27 patients had bacteremia (56%). Time to appropriate treatment was 5-582 days (mean=40). Fever clearance time after appropriate treatment was 2-34 days (mean=13). Patients who receive approiate initial intensive therapy was 80% and receive appropriate drugs along the course of treatment was lower (70%). Mostly patient received procedure (94%). ICU patients was 25%. Length of Hospital stay was 1-69days (mean=18). The mortality rate was 23 % and the relapse rate was 6%.
Conclusion : Diagnosis of melioidosis in musculoskeletal system is difficult and require highlevel of suspicious. Doctor should concern and get melioidosis to the differential diagnosis in every patient who had anyone of risk factor, especially Diabetes mellitus. Appropiate investigation by specimen culture should be done for the definite diagnosis. Prompt empiric antibiotic cover Burkholderia pseudomallei should be started early, when melioidosis is the possible diagnosis, to reduce mortality. Lastly, adequate long term oral antibiotics in eradication phase is the one clinical point that should be emphasized to reduce disease relapse.
Key words : Melioidosis, Musculoskeletal system.