ประสิทธิผลการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดตามแนวทาง Global Initiative for Asthma (GINA) ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Efficacy of Treatment in Asthmatic Children Follow by GINA Guidelines at Sawanpracharak Hospital

ผู้แต่ง

  • Supa Modthuk

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์             :     เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดตามแนวทาง GINA

สถานที่ศึกษา             :     โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการวิจัย        :     การศึกษา efficacy แบบ interrupted time

กลุ่มตัวอย่าง              :     ผู้ป่วยเด็กอายุ 3–15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นหืดโดยกุมารแพทย์ และเข้ารับการรักษาในคลินิก                           โรคปอดเด็กโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ตามแนวทาง GINA เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน                   ในช่วงตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2558 จำนวน 64 ราย

วิธีการศึกษา               :     เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางคลินิก การมาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉิน การรับไว้รักษาตัว                               ในโรงพยาบาลและ การพ่นยาขยายหลอดลมที่บ้าน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังใช้แนวทาง                           GINA ด้วย multi- level Poisson model สำหรับข้อมูลการวัดซ้ำในผู้ป่วยรายเดียวกัน

ผลการศึกษา              :     ผู้ป่วยเด็กโรคหืดเป็น ชาย:หญิง 3:1 อายุเฉลี่ย 9.7 + 2.5 ปี ทุกรายมีโรคร่วม ส่วนใหญ่เป็นโรค                         จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 93.8 มีสัตว์เลี้ยงในบ้านร้อยละ 48.4 และมีคนสูบบุหรี่ในบ้าน                  ร้อยละ 40.6 ก่อนเข้ารับการรักษาในคลินิกโรคปอดตามแนวทาง GINA พบว่าจำนวนการมา                           พ่นยาที่ห้องฉุกเฉินเฉลี่ย 81.0 ครั้ง/ปี นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ย 33.0 ครั้ง/ปี ใช้ยา


                                            ขยายหลอดลมเท่ากับหรือมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เฉลี่ย 0.08 ครั้ง/ปี ควบคุมโรคได้บางส่วน                          ร้อยละ 71.0 ควบคุมโรคไม่ได้ ร้อยละ 16.1 และควบคุมโรคได้ ร้อยละ 12.9 ภายในระยะเวลา                             3 ปี หลังเข้ารับการรักษาในคลินิกโรคปอดตามแนวทาง GINA จำนวนการมาพ่นยาที่                                     ห้องฉุกเฉินลดลงเหลือ 30.7 ครั้ง/ปี รักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงเหลือ 7.0 ครั้ง/ปี แต่ใช้ยา                 ขยายหลอดลมเท่ากับหรือมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 0.21 ครั้ง/ปี การติดตามเมื่อ                        ครบ 1 ปี หลังเข้ารับการรักษาในคลินิกควบคุมโรคได้ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 82.8 ควบคุมโรค                                ได้บางส่วน ลดลงเหลือร้อยละ 17.2 และไม่มีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้

วิจารณ์และสรุป        :     ภายหลังเข้ารับการรักษาตามแนวทาง GINA ผู้ป่วยเด็กโรคหืดสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้นจึงควรพิจารณานำ GINA Guidelines ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดทุกราย

คำสำคัญ                     :     โรคหืด, ยาพ่นขยายหลอดลม, การรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล, การมาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉิน, แนวทางการรักษา

Abstract

 

Objective                   :  To evaluate efficacy of treatment according to guideline in asthmatic children

Setting                       :  Sawanpracharak hospital

Design                        :  Quasi-experimental study

Subjects                     :  Asthmatic patients, age 3-15 year, whose diagnos is was confirmed by pediatricians and visit pediatric chest clinic from 1 July 2009 to 31 December 2015. All patients were regularly followed up at clinic at least 3 months.

Method                      :  Demographic data, exposure histories, co-morbidities, level of asthma control, admission visits, emergency room visits and bronchodilator usage were gathered from medical records. Data prior to and after implementing GINA Guidelines in the pediatric chest clinic were compared using multi-level Poisson model

Results                       :  Among 64 asthmatic children enrolled 48 were male, 16 were female. Mean age was 9.7 ± 2.5 years. All asthmatic patients had comorbidity; most were allergic rhinitis (93.8%), 40.6% expose smoke, and 48.4% in house pets. The mean emergency room visit prior to following GINA Guidelines in pediatric chest clinic was 81.0 times per year, mean admission visits 33.0 times per year, and mean bronchodilator use more than twice a week was 0.08 episodes per year. At was 0.08 episodes per year. At enrollment in pediatric chest clinic; most asthmatic patients were partly controlled (71%), 16.1% of all were uncontrolled and 12.9% of all were controlled. After implementing GINA Guidelines in pediatric chest clinic for 3 years; there were reduction in the mean emergency room visits (30.7 times per year) and the mean admission visits (7.0 times per year), but the mean bronchodilator use more than twice a week was increased (90.21 episodes per year). Level of asthma control at one year after following GINA Guidelines in pediatric chest clinic, percentage of patients with uncontrolled symptoms was increased (82.8%) and none presented with uncontrolled symptoms.

Conclusion               :  Most asthmatic patients in pediatric chest clinic achieve to asthma control after following GINA Guidelines. Adherence to GINA Guidelines are required to improve asthma control for all asthmatic children

Key words                 :  Asthma, Bronchodilators, Admission, Emergency Visits, Guidelines

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-24

วิธีการอ้างอิง

Modthuk, Supa. 2017. “ประสิทธิผลการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดตามแนวทาง Global Initiative for Asthma (GINA) ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Efficacy of Treatment in Asthmatic Children Follow by GINA Guidelines at Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 14 (1). Nakhonsawan Thailand:37-50. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/588.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)