การใช้อินเตอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดอินเตอร์เน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ : Internet Uses and Associated Factors for Internet Addiction of Secondary Students in Nakhon Sawan Province

ผู้แต่ง

  • Theeraporn Vititsiri

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์         :   เพื่อศึกษาการใช้อินเตอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดอินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

สถานที่ศึกษา        :   โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการวิจัย     :   การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง

กลุ่มตัวอย่าง        :   นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 จำนวน 1,071 คน จาก 4 โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

วิธีการศึกษา         :   ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ต แบบสอบถาม Internet Addiction Diagnostic Questionnaire ฉบับภาษาไทย และแบบสอบถามเรื่องความรู้สึกต่อตนเอง (Rosenberg Self-Esteem Scale) ฉบับภาษาไทย

ผลการศึกษา         :   กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.3 อายุเฉลี่ย 15.1±1.8 ปี ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 98.1 ใช้อินเตอร์เน็ตในวันธรรมดา ระยะเวลาเฉลี่ย 3.10±2.68 ชั่วโมง/ครั้งและใช้ในวันหยุด ระยะเวลาเฉลี่ย 3.99±3.38 ชั่วโมง/ครั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.00-4.00 ร้อยละ 48.5 และอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ ร้อยละ 64.2 เล่นอินเตอร์เน็ตที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 อุปกรณ์ที่ใช้บ่อย 3 อันดับแรกได้แก่ สมาร์ทโฟน ร้อยละ 83.8 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ร้อยละ 48.6 และโน้ตบุ๊ค ร้อยละ 47.3 และใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุด 3 อันดับแรก เพื่อความบันเทิงและข่าวสาร ร้อยละ 71.9 เพื่อการค้นหาข้อมูล ร้อยละ 67.5 และเพื่อการสนทนาและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 51.1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 26.3 เข้าเกณฑ์ติดอินเตอร์เน็ต โดยปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดอินเตอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (RR=1.39, 95%CI 1.06-1.83, P=0.017) เกรดเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.99 (RR=1.35, 95%CI 1.03-1.78, P=0.031) การอยู่กับพ่อหรือแม่ (RR=1.57, 95%CI 1.04-2.38, P=0.031) และการอยู่หอพัก (RR=2.27, 95%CI 1.47-3.51, P<0.001) ส่วนปัจจัยป้องกันได้แก่ความรู้สึกภาคภูมิใจตนเองสูง (RR=0.32, 95%CI 0.20-0.50, P=0.001)

วิจารณ์และสรุป     :   ปัญหาการติดอินเตอร์เน็ตในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษายังคงความรุนแรงจนถึงปัจจุบันพ่อแม่และผู้ปกครองควรใส่ใจในการสอดส่องดูแลและควบคุมการใช้อย่างเหมาะสม รวมทั้งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมให้กับวัยรุ่น เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดอินเตอร์เน็ต

คำสำคัญ             :   อินเตอร์เน็ต นักเรียนมัธยมศึกษา การติดอินเตอร์เน็ต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดอินเตอร์เน็ต

 

Abstract

 

Objective          :   To study the internet uses and associated factors of internet addiction in Nakhonsawan secondary students.

Setting              :   Secondary school in Muang Nakhonsawan district, Nakhonsawan province.

Design              :   Cross-sectional analytic study.

Subjects           :   1,071 students from 4 secondary schools in Muang Nakhonsawan district, Nakhonsawan province.

Method            :   Subjects were invited to complete the questionnaire for internet uses, Internet Addiction Diagnostic Questionnaire (Thai-version) and Rosenberg Self-Esteem Scale (Thai-version).

Results             :   The participants were female 68.3%. Their average age was 15.1±1.8 years old. In the past 3 months, 98.1% of subjects used the internet in weekdays. Average time is 3.10±2.68 hours/time in week days and 3.99±3.38 hours/time in weekend. The subjects had Grade Point Average (GPA) good-excellent 48.5%, lived with their parents 64.2% and used internet in the house 75.0%. The top three media which the subjects love using were smart phone 83.8%, personal computer (PC) 48.6% and notebook 47.3%. These three media usually used for entertainment and news 71.9%, searching data 67.5% and chat and electrical mail 51.1%. The study revealed that 26.3% of secondary students met the criteria for internet addiction and relative risk factors were senior high school (RR=1.39, 95%CI 1.06-1.83, P=0.017), GPA≤2.99 (RR=1.35, 95%CI 1.03-1.78, P=0.031), living with father or mother (RR=1.57, 95%CI 1.04-2.38, P=0.031) and living in dormitory (RR=2.27, 95%CI 1.47-3.51, P<0.001). Protective factor was high self-esteem (RR=0.32, 95%CI 0.20-0.50, P=0.001).

Conclusion        :   Internet addiction remains a problem in secondary students. To prevent this problem, their parents should control the internet uses and training their teens to solve the problems appropriately.

Key words         :   internet, secondary students, internet addiction, associated factors for internet addiction

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-27

วิธีการอ้างอิง

Vititsiri, Theeraporn. 2017. “การใช้อินเตอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดอินเตอร์เน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ : Internet Uses and Associated Factors for Internet Addiction of Secondary Students in Nakhon Sawan Province”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 14 (2). Nakhonsawan Thailand:96-106. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/631.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)