ความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์สุขภาพชุมชน 5 แห่งของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Prevalence of Peripheral Arterial Disease in Diabetes Type 2 Patients Of 5 Primary Care Units of Sawanpracharak Hospital

ผู้แต่ง

  • Peanporn Yoongtong
  • Rachadaporn Taweekarn
  • Somjai Rattanaseetong

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์         :   เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2            

สถานที่ศึกษา        :   ศูนย์ชีวนันท์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการวิจัย     :   ศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง

กลุ่มตัวอย่าง        :   ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จากศูนย์สุขภาพชุมชน 5 แห่งของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ที่ได้รับการตรวจการไหลเวียนหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ศูนย์ชีวนันท์ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 953 คน

วิธีการศึกษา         :   รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจเท้าตามแนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ตรวจคัดกรองการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้าด้วย 10 กรัม โมโนฟิลาเม้นท์ (monofilament) และการวัดการไหลเวียนหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขาทั้งสองข้าง (Ankle-Brachial Index: ABI) ตำแหน่ง dorsalis pedis และ posterior tibial ด้วย doppler ultrasound probe วิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ และการทดสอบ Chi-square

ผลการศึกษา         :   กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 62.6 อายุเฉลี่ย 61.8±8.8 ปี ระยะเวลาที่เป็นเบาหวานเฉลี่ย 8.2±5.6 ปี ผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขาตีบ (ABI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.90) ร้อยละ 31.1 โดยผู้ที่มีหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเล็กน้อยถึงปานกลางแต่ยังไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 29.4 ผู้ที่มีอาการมีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้น พบผู้ที่มีหลอดเลือดแดงตีบ

 


                          รุนแรงรวมถึงมีหลอดเลือดแดงไม่บีบรัดต้องส่งพบศัลยแพทย์หลอดเลือด ร้อยละ 2.3 และพบว่าระยะเวลาที่เป็นเบาหวานและอาการผิดปกติที่เท้ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) โดยพบว่าชีพจรที่เท้าผิดปกติ เบาหรือคลำไม่ได้ ทั้งตำแหน่ง dorsalis pedis และ posterior tibial มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

วิจารณ์และสรุป     :   ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์สุขภาพชุมชน 5 แห่งของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มีความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ สูงกว่าการศึกษาของโรงพยาบาลศิริราช  ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล และประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย แต่ต่ำกว่าการศึกษาของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา จังหวัดนครนายก โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการของ intermittent claudication จึงควรส่งเสริมให้แพทย์และบุคลากรทางแพทย์คำนึงถึงภาวะนี้ และควรส่งผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป และมีชีพจรที่เท้าเบาหรือคลำไม่พบให้ได้รับตรวจการไหลเวียนหลอดเลือดแดงส่วนปลายทุกราย

คำสำคัญ             :   การตรวจการไหลเวียนหลอดเลือดแดงส่วน, การตรวจวัดค่าดัชนีความดันของข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน

                                               

Abstract

                      

Object              :   To study the prevalence and factors Related to peripheral arterial disease in Diabetes type 2 patients.

Setting              :   Cheewanun Center, Sawanpracharak Hospital.

Design              :   Retrospective descriptive study.

Sample             :   953 Diabetes type 2 patients from 5 Primary Care Units of Sawanpracharak Hospital that had been assessed by Ankle Brachial Index (ABI) at Cheewanun Center during 1st February–31th September 2016.

Method            :   Data was collected from foot exam record form that constructed according to Clinical Practice Guideline: Prevention and Management of Diabetic Foot Complications. Screening of protective sensation by 10 grams Semmes- Weinstein monofilament, measurement of ABI with doppler ultrasound probe at dorsalis pedis and posterior tibial both feet. Analysis was done with percent and Chi-square.

Result               :   The samples were female 62.6% average of age were 61.8+8.8 years, mean of duration were 8.2+5.6 years. The patients with ABI<0.9 indicating of peripheral arterial disease were 31.1%. The patients with mild to moderate peripheral arterial disease but with asymptomatic of intermittent claudication were 29.4%, and with symptomatic of intermittent claudication 1.4%. The severe of peripheral arterial disease, mild to moderate of peripheral arterial


                          disease with symptom and arteries non-compressible had needed referring to vascular surgeon were 2.3%. Duration of Diabetes, and symptomatic foot significantly related to peripheral arterial disease (P<0.001). The results revealed that abnormalities in pulse palpation of the lower limb (pulse deficit/absent) at dorsalis pedis and posterior tibial singnificantly related to peripheral arterial disease (P<0.001).

Conclusion        :   The prevalence of peripheral arterial disease in Diabetes type 2 patients at 5 Primary Care Units of Sawanpracharak Hospital was higher than Siriraj Hospital, Golden Jubilee Medical Center and many countries in Asia, but lower than HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. Most of them had intermittent claudication. Doctors and health workers should be aware of this condition. Especially in cases of 10 years duration and with pulse deficit or absent should be referred for screening ABI.

Key words         :   Screening of peripheral arterial disease, ABI (Ankle–Brachial Index)

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-27

วิธีการอ้างอิง

Yoongtong, Peanporn, Rachadaporn Taweekarn, และ Somjai Rattanaseetong. 2017. “ความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์สุขภาพชุมชน 5 แห่งของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Prevalence of Peripheral Arterial Disease in Diabetes Type 2 Patients Of 5 Primary Care Units of Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 14 (2). Nakhonsawan Thailand:107-16. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/632.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)