เนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติด ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : 2550-2562 Parotid Tumor in Sawanpracharak Hospital 2007-2019

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี จิราวัฒนอนันต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์          :     เพื่อศึกษาลักษณะประชากร  ลักษณะทางคลินิก  การตรวจวินิจฉัยก่อนผ่าตัด  ผลพยาธิวิทยาหลังผ่าตัด  วิธีการผ่าตัด   และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดผู้ป่วยโรคเนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติด

สถานที่ศึกษา          :     โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการวิจัย      :     การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง

กลุ่มตัวอย่าง           :     ผู้ป่วยโรคเนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติดที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาด้วยการผ่าตัดตั้งแต่ตุลาคม 2550 ถึงสิงหาคม 2562 จำนวน 140 คน

วิธีการศึกษา            :     รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน  เวชระเบียนผู้ป่วยนอก  แบบบันทึกการผ่าตัด  และทะเบียนผลพยาธิวิทยา  นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และรายงานผลด้วยค่าร้อยละ

ผลการศึกษา           :     ผู้ป่วยโรคเนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติด มีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงใกล้เคียงกัน  คือ1.2: 1  อายุเฉลี่ย 52 ± 15.6 ปี ส่วนใหญ่มาด้วยอาการมีก้อนบริเวณต่อมน้ำลายใต้กกหู ร้อยละ 59.3 ได้รับการวินิจฉัยก่อนผ่าตัดด้วยการเจาะก้อนเนื้องอกโดยวิธี fine needle aspiration  ร้อยละ 70.7 พบความถูกต้องของผล fine needle aspiration เมื่อเทียบกับผลพยาธิวิทยาหลังผ่าตัด ร้อยละ 43.4 โดยมีพยาธิสภาพของโรคเป็นเนื้องอกต่อมน้ำลายชนิดไม่ร้ายแรงเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.5 ซึ่งผลพยาธิวิทยาเป็นชนิด pleomorphic adenoma มากที่สุด ร้อยละ 42.1 รองลงมาเป็นชนิด warthin’s tumor  ร้อยละ 22.8  ในกลุ่มที่มีพยาธิสภาพของโรคเป็นเนื้องอกต่อมน้ำลายชนิดร้ายแรง พบร้อยละ 16.4 มีผลพยาธิวิทยาเป็นชนิด high grade mucoepidermid carcinoma เท่ากันกับชนิด acinic cell carcinoma ร้อยละ 3.6 การผ่าตัดส่วนใหญ่คือการทำ superficial parotidectomy ร้อยละ 77.1 ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบ คือ facial nerve paralysis ร้อยละ 37.1

วิจารณ์และสรุป     :     ปัญหาเนื้องอกบริเวณต่อมน้ำลายพาโรติดพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงสูงอายุ   การวินิจฉัยก่อนผ่าตัดโดยการทำ fine needle aspiration ช่วยให้วางแผนการรักษาได้ดีขึ้น    เนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติดส่วนมากเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง  ผลพยาธิวิทยาที่พบมากที่สุดคล้ายกับการศึกษาอื่นที่ผ่านมา  คือเป็นเนื้องอกชนิด   pleomorphic adenoma  การผ่าตัดส่วนใหญ่ทำเป็น superficial parotidectomy  เนื่องจากก้อนมักอยู่บริเวณ superficial lobe of parotid gland  ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดคือการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า  ถึงแม้นจะเป็นแบบชั่วคราว  แพทย์ผู้ผ่าตัดควรตระหนักและพยายามป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว

คำสำคัญ                  :     เนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติด ลักษณะประชากร ลักษณะทางคลินิก การตรวจวิธี fine needle aspiration

 

Abstract

Objective         :           To study the population characteristics, clinical features, preoperative diagnosis by fine needle aspiration, post operative pathological results, surgical method and postoperative complications

Setting              :           Sawanpracharak Hospital

Design               :           Retrospective descriptive study

Subjects            :           140 patients underwent parotidectomy at Sawanpracharak Hospital during October2007-September 2019

Method             :           In study, 140 medical records of OPD patients ,recods of IPD patients , operation notes, pathological reports. Data were analysed and reported by percentages

Results              :           Parotid tumor patients ; the mean age was 52±15.6 years. The ratio of male to female ratio was 1.2:1.  Most of them (59.3%) presented as mass under ear lobule. The FNA cytology was performed 70.7% of patients and the cytology results were related to the pathological report 43.4%. Benign salivary gland tumor composed of 83.5% (pleomorphic adenoma 42.1%, warthin’s tumor 22.8%)  Malignant salivary gland tumor was 16.4%
( high grade mucoepidermoid carcinoma was equal to  acinic cell carcinoma 3.6%). The most surgical method was superficial parotidectomy(77.1%) and the most common post operative complication was facial nerve paralysis (37.1%).

Conclusion      :           Parotid tumors can be found  from children to the elderly. Preoperative diagnosis by fine needle aspiration helps to improve treatment plans. Parotid tumors are mostly benign tumor ; pathological results show the most common type in pleomorphic adenoma which is similar to the previous studies.  The most surgical method is superficial parotidectomy because of most tumors are  usually in superficial lobe of parotid gland  . The most common of postoperative complication is facial nerve injuries. Even though these are temporary, the surgeon should be aware and try to prevent the condition.

Keywords               :     parotid salivary gland tumors, population characteristics clinical features, fine needle aspiration

ดาวน์โหลด

วิธีการอ้างอิง

จิราวัฒนอนันต์ สาวิตรี. 2019. “เนื้องอกต่อมน้ำลายพาโรติด ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : 2550-2562 Parotid Tumor in Sawanpracharak Hospital 2007-2019”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 16 (3). Nakhonsawan Thailand:103-10. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/8794.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)