การพยาบาลระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกในสมองส่วนสมองน้อย: กรณีศึกษา (Anesthetic Nursing Care for Sub Occipital Craniotomy Removal Cerebella Tumor Patient : A Case Study)

ผู้แต่ง

  • นวลจันทร์ ดิเรกวุฒิกุล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บทคัดย่อ

            รายงานผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 53 ปี ให้ประวัติ 1 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย เดินเซไปทางขวา ทรงตัวไม่อยู่ 2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการปวดศีรษะมากขึ้นเริ่มรู้สึกอ่อนแรงที่แขนขาข้างซ้าย ตรวจพบมี left cerebella tumor จากผล computed tomography scan (CT scan) แพทย์ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อนำเนื้องอกสมองออก (sub occipital craniotomy removal tumor) วิสัญญีแพทย์เลือกให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ระหว่างการผ่าตัดมีการเสียเลือดจำนวนมาก ต้องเตรียมเลือดและส่วนประกอบของเลือดเพิ่มเป็นกรณีฉุกเฉิน เมื่อการผ่าตัดสำเร็จ ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพปกติ แต่ยังอยู่ในระยะที่ระบบไหลเวียนเลือดไม่คงที่ (hemodynamic phase) ระยะหลังผ่าตัดย้ายผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง  ในขณะที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และควบคุมการหายใจด้วยเครื่องควบคุมแรงดัน (Bird’s respirator) 1ชั่วโมงในระหว่างรอหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตพร้อม  จึงย้ายไปหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต และควบคุมการหายใจด้วยเครื่องควบคุมปริมาตร (volume control ventilator) รวมระยะเวลา ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต 10 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจและหายใจได้เอง และอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถกลับบ้านได้ปลอดภัยโดยแพทย์อนุญาต  รวมระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล 6 วัน

คำสำคัญ เนื้องอกสมองส่วนสมองน้อย   การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะส่วนใต้ท้ายทอย

 

Abstract

A case report, age 53 years-old female patient with headache around occipital area, ataxia and postural control imbalance, 2 weeks later having more headache and weakness at the left arm and leg before coming to the hospital. CT brain scan had been done for her to investigate, cerebella tumor was found as a result. She was admitted to prepare for craniotomy to remove the tumor. The surgery underwent with general anesthesia, while operating she lost plenty of blood then the emergency blood enhance was needed as well as blood components. The operation was successful with her normal vital sign but still in hemodynamic phase. After the operation the patient was shifted to the surgical female ward with bird’s respirator for 1 hour before being on volume control ventilator at sub I.C.U. ward. Within 10 hours the respirator and endotracheal tube were taken out and the patient could breathe normally by herself. 6 days later, after her condition gradually improved she was allowed to discharge.

Keywords: Cerebella tumor, Sub occipital craniotomy removal cerebella tumor

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-21

วิธีการอ้างอิง

ดิเรกวุฒิกุล นวลจันทร์. 2020. “การพยาบาลระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกในสมองส่วนสมองน้อย: กรณีศึกษา (Anesthetic Nursing Care for Sub Occipital Craniotomy Removal Cerebella Tumor Patient : A Case Study)”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 17 (3). Nakhonsawan Thailand:52-62. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/9445.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)