ผลการดำเนินงานการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในช่วง 12 ปี Twelve Years CAPD Outcomes in Peritoneal Dialysis Unit of Sawanpracharak Hospital

ผู้แต่ง

  • รัชนี เชี่ยวชาญธนกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์          :  เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องของโรงพยาบาล
สวรรค์ประชารักษ์ ระหว่างปี 2550 ถึง ปี 2561 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างปี 2550-2555 กับปี 2556-2561  ของ patient survival rate และ technical survival rate ที่ 1,3,5 และ 10 ปี ปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราการเสียชีวิต และ technical failure rate ที่ 5 ปี และสาเหตุการเสียชีวิต

สถานที่ศึกษา          :  หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ 

รูปแบบการวิจัย      :  การศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study)

กลุ่มตัวอย่าง           :  ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550  จนถึง 31 ธันวาคม 2561 ทั้งหมด 866 คน โดย ปี 2550 ถึง ปี 2555 มีจำนวนผู้ป่วย 340 คน และปี 2556 ถึง ปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วย 526 คน

วิธีการศึกษา            :  รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ อายุ เพศ  สิทธิการรักษาพยาบาล ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย โรคที่เป็นสาเหตุของไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และโรคร่วม  ข้อมูลผลการรักษา ได้แก่ วันเริ่มใส่สายล้างช่องท้อง วันเริ่มใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง วันที่ยุติการล้างไตทางช่องท้อง วันที่เสียชีวิต ระยะเวลาพักท้อง (break-in) หลังการใส่สายล้างช่องท้อง วันที่เกิด peritonitis สาเหตุการเสียชีวิต และสาเหตุการถอดสายล้างช่องท้อง เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลผลการรักษา ระหว่างปี 2550-2555 กับปี 2556-2561 ของ patient survival rate และ technical survival rate ที่ 5 ปี ด้วยสถิติ Cox proportional hazard regression และ Kaplan-Meier plot นำเสนอขนาดของอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงด้วยค่า Hazard ratio (HR) และค่าช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: CI) 

ผลการศึกษา           :  ระยะเวลาการติดตามการรักษามีค่ามัธยฐาน 16 เดือน (IQR 6,34) พบอัตราการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) เท่ากับ 0.45 episodes per patient-year และระยะเวลาการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบครั้งแรก (time to first peritonitis)  เท่ากับ 31 เดือน ไม่แตกต่างกันในช่วงเวลาปี 2550-2555 เทียบกับ ปี 2556-2561 แต่พบว่าผู้ป่วยที่รักษาในช่วงเวลาปี 2556-2561 มี patient survival rate ดีกว่าผู้ป่วยที่รักษาในช่วงเวลาปี 2550-2555 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 5 ปี (HR 1.27; 95% CI 1.01-1.60, P = 0.040) โดยพบความแตกต่าง ที่ 5 ปี ( ร้อยละ 68.6 และร้อยละ 61.2,  P Value  0.024 ) และที่ 10 ปี (ร้อยละ 68.1 และร้อยละ 55.3, P Value < 0.001) และพบว่าผู้ป่วยที่รักษาในช่วงเวลาปี 2556-2561 มีอัตราการคงอยู่ของสายล้างไตทางช่องท้อง(technical survival rate) ดีกว่าผู้ป่วยที่รักษาในช่วงเวลาปี 2550-2555 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 5 ปี (HR 1.60; 95% CI 1.34-1.90, P < 0.001) โดยเริ่มมีความแตกต่าง ที่ 3 ปี (ร้อยละ 55.5 และร้อยละ 44.4, P Value 0.001) ที่ 5 ปี (ร้อยละ 50.2 และร้อยละ 28.8, P Value < 0.001) และที่ 10 ปี (ร้อยละ 49.6 และร้อยละ17.6, P Value < 0.001)  ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตที่ 5 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุมากกว่าเท่ากับ 60 ปี โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ช่วงระยะเวลาที่รักษาระหว่างปี 2550-2555 เปรียบเทียบกับปี 2556-2561 และ เบาหวาน และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อ technical failure rate ที่ 5 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอักเสบ โรคหัวใจ ช่วงระยะเวลาที่รักษาระหว่างปี 2550-2555 เปรียบเทียบกับปี 2556-2561 และอายุมากกว่าเท่ากับ 60 ปี  ส่วนระยะเวลาพักท้องมากกว่าเท่ากับ 14 วัน เป็นปัจจัยที่ลดอัตราการเสียชีวิต และลด technical failure rate สาเหตุของการเสียชีวิตในการศึกษานี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อถึงร้อยละ 63.6 โดยเป็น peritonitis ร้อยละ 45.0 และการติดเชื้ออื่น ๆ ร้อยละ 18.6 

วิจารณ์และสรุป     :  การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอักเสบยังเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตและการถอดสายล้างช่องท้องของผู้ป่วย  CAPD  จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงผลการรักษาที่ดีขึ้นทั้ง patient survival rate และ technical survival rate ในช่วงปี 2556-2561 เมื่อเทียบกับปี 2550-2555 เนื่องจากประสบการณ์และการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย CAPD

คำสำคัญ                  :  การล้างไตทางช่องท้อง, อัตราการรอดชีวิต, เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

 

Abstract

Objective                :  This study aimed to analyze treatment outcome (patient survival rate and technical survival rate at 1,3,5 and 10 years) compared  between CAPD patients in  2007- 2012  and 2013-2018,  risk factors of mortality and technical failure at 5 years  and  cause of death in CAPD patients, peritoneal dialysis unit, Sawanpracharak hospital.

Setting                    :  Peritoneal dialysis unit, Sawanpracharak hospital.

Design                     :  retrospective cohort study.

Subjects                  :  866 CAPD patients at PD unit during Jan 1, 2007 to Dec 31, 2018. 340 patients from Jan 1, 2007 to Dec 31, 2012 and 526 patients from Jan 1, 2013  to  Dec 31,2018.

Method                   :  Medical records and dialysis records were reviewed. The following data : age, gender, cause of ESRD, Co-morbid disease, weight and height, date (Tenckhoff catheter  insertion/removal, started/end peritoneal dialysis, peritonitis, death, hemodialysis), cause of death/ Tenckhoff catheter removal. Demographic date and treatment data between CAPD patients during 2007- 2012  and  2013-2018 were analyzed by using  Chi-square test  and  factors  that associated with  patient survival rate and technical survival rate at  5 years were analyzed by using  Cox proportional hazard regression,  Hazard ratio (HR) ,95% confidence interval, Kaplan-Meier curve.

Results                    :  866 CAPD patients at PD unit during Jan 1, 2007 to Dec 31, 2018. 340 patients from Jan 1, 2007 to Dec 31, 2012 and 526 patients from Jan 1, 2013  to  Dec 31,2018. Both CAPD patients of the two periods had the same Peritonitis rate (0.45 episodes per pt-yr) and time to the first peritonitis. Patient survival rate in CAPD patients from Jan 1, 2013 to Dec 31, 2018 had better than CAPD patients from Jan 1, 2007 to Dec 31, 2012, at 5 years (68.6% Vs 61.2%, P Value 0.024) and 10 years (68.1% Vs 55.3%, P Value < 0.001). As the same as Technical survival rate at 3 years (55.5% Vs 44.4%, P Value 0.001), 5 years (50.2% Vs 28.8%, P Value < 0.001) and 10 years (49.6% Vs 17.6%, P Value < 0.001) ). Risk factors that increased mortality rate at 5 years statistic significantly was the patient age  equal/more than  60 years, cerebrovascular accident, congstive heart faiure & coronary artery disease, treatment duration between 2007-2012 compared with 2013-2018, diabetes mellitus. The risk factors that increased technical failure rate at 5 years statistic significantly was the patients with peritonitis,  congstive heart faiure & coronary artery disease, treatment duration between 2550-2555 compared with 2556-2561, patient age  equal/more than  60 years. Break-in period equal/more than 14 days was protective for both. The leading causes of death were infection(63.6%); PD-related peritonitis(45.0%) and other infections(18.6%). 

Conclusion            :  Leading causes of death and Tenckhoff catheter  removal  in  Thai CAPD patients were peritonitis. From this study were shown that both survival rate and technical survival rate of CAPD in 2013-1018 better than 2007-2012 due to CAPD network system.

Key words              :  peritoneal dialysis, patient survival, peritonitis

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-11-16

วิธีการอ้างอิง

เชี่ยวชาญธนกิจ รัชนี. 2020. “ผลการดำเนินงานการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในช่วง 12 ปี Twelve Years CAPD Outcomes in Peritoneal Dialysis Unit of Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 17 (3). Nakhonsawan Thailand:63-80. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/9567.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)