ลักษณะทางคลินิกและการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลด่านช้าง สุพรรณบุรี Clinical Characteristics and Therapy of Patients with Acute Heart Failure in A Community Hospital: A Study of Danchang Hospital, Suphanburi
บทคัดย่อ
จุดประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก การวินิจฉัย การรักษา สาเหตุและเหตุกระตุ้นกำเริบ ผลการรักษา สาเหตุการตาย และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันในโรงพยาบาลด่านช้าง
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลด่านช้าง สุพรรณบุรี
รูปแบบการวิจัย : เชิงพรรณนาไปข้างหน้า (prospective descriptive study)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีทุกคนที่วินิจฉัยกลุ่มอาการภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและรับไว้ในหอผู้ป่วยระหว่าง 1 มกราคม 2560 ถึง 30 เมษายน 2561 จำนวน 72 คน (109 ครั้ง)
วิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียน บันทึกข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้น แจกแจงข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบการใช้ยารักษาด้วยสถิติ Chi-square และหาปัจจัยสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ด้วยสถิติ multiple logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเพศชายร้อยละ 52.7 อายุเฉลี่ย 71.2±15.7 ปี มีหัวใจล้มเหลวมาก่อน ร้อยละ 68.0 โดยร้อยละ 87.8 มีโรคความดันโลหิตสูง และร้อยละ 71.1 มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด/หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคร่วม พบอาการแสดงภาวะปอดคั่งน้ำ ร้อยละ 68.0 ทราบผล left ventricular ejection fraction (LVEF) แล้ว ร้อยละ 34.7 และมีค่า LVEF ต่ำกว่าร้อยละ 40 ร้อยละ 34.7โดยมีเหตุจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร้อยละ 54.2 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย AD-CHF มากที่สุด ร้อยละ 63.3 ส่วนสาเหตุกระตุ้นการกำเริบมากที่สุดเป็นการใช้ยา NSAIDs และการไม่ควบคุมอาหารเค็ม ร้อยละ 32.1 และร้อยละ 29.4 เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยได้รับยา ACEi/ARB หลังออกจากโรงพยาบาลร้อยละ 41.7 และยา β-blocker ร้อยละ 26.3 เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ร้อยละ 16.7 เกิดจากภาวะปอดคั่งน้ำมากที่สุด ร้อยละ 50.0 พบว่าผู้ป่วย NYHA class III-IV (adjOR 6.21; 95% CI 1.69-22.87; P=0.043) ระดับซีรั่มโซเดียมน้อยกว่า 130 mEq/L (adjOR 1.90; 95% CI 1.22-2.09, P<0.001) ระดับ creatinine ในซีรั่ม มากกว่า 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (adjOR 1.74; 95% CI 1.25-1.99; P=0.009) ใช้ Mechanical ventilation (adjOR 3.82; 95% CI; 1.09-9.21; P = 0.022) cardiogenic shock (adjOR 5.77; 95% CI; 2.22-26.41; P<0.001) และได้ยา dopamine (adjOR; 1.36; 95% CI 1.01-1.82; P = 0.027) เป็นปัจจัยพยากรณ์โรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
วิจารณ์และสรุป : พบผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเหตุจากการกำเริบมากที่สุด จากการไม่ได้รับยาที่จำเป็นต่อการรักษาเพียงพอร่วมกับการใช้ยาไม่ถูกต้องและได้รับอาหารที่มีเกลือสูง โดยอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลยังคงสูงอยู่ ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลชุมชนยังได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจน้อยซึ่งเป็นการตรวจที่มีประโยชน์สูง
คำสำคัญ : ลักษณะทางคลินิก, หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน, โรงพยาบาลชุมชน
Abstract
Objective : To study clinical features, diagnosis, treatment of relapses, treatment outcomes, cause of death and factors associated with mortality of patients with acute heart failure in Dan Chang Hospital.
Setting : Danchang Community Hospital Suphanburi
Design : Prospective, descriptive study
Subjects : All 72 patients from 18 years of age diagnosed with acute heart failure and admitted to the ward between 1 January 2017 to 30 April 2018 (109 admissions)
Method : The study information was administrated from medical records and data were collected with case record forms. The data were distributed with descriptive statistics. Comparing the use of drug treatment with Chi-square statistic and determining factors of hospital mortality with multiple logistic regressions, statistically significant at p less than 0.05.
Results : The 52.7% of male patients, mean age 71.2 ± 15.7 years, 68.0% with pre-existing heart failure, 87.8% with hypertension and 71.1% with myocardial infarction / coronary artery disease associated with it. The 68.0% symptoms of pulmonary congestion was found, 34.7% of left ventricular ejection fraction (LVEF) known, and 34.7% had lower LVEF values, with 54.2% of ischemic heart disease. The 63.3% was diagnosed with AD-CHF, while 32.1% of the most provocative causes of relapse was NSAIDs without salt diet. The 29.4% when disposed of. The 41.7% of patients received ACEi / ARB after hospital discharge and 26.3% block-blocker, a statistically significant increase than before hospitalization. The hospital mortality rate was 16.7% caused by pulmonary congestion, 50.0% was the highest, found NYHA class III-IV (adjOR 6.21; 95% CI 1.69-22.87; p = 0.043). Less than 130 mEq / L sodium (adjOR 1.90; 95% CI 1.22-2.09, p <0.001) serum creatinine greater than 2.0 mg / l (adjOR 1.74; 95% CI 1.25-1.99; p = 0.009). The mechanical ventilation used (adjOR 3.82; 95% CI; 1.09-9.21; p = 0.022), cardiogenic shock (adjOR 5.77; 95% CI; 2.22-26.41; p <0.001) dopamine (adjOR; 1.36; 95% CI 1.01-1.82. ; p = 0.027) was a statistically significant prognostic factor.
Conclusion : Most of the patients with acute heart failure caused a relapse from insufficient medication, incorrect drug use, and a high salt diet. The mortality rate in the hospital is still high. Heart failure patients in community hospitals also received low echocardiography, a highly useful test..
Keyword : clinical characteristic, acute heart failure, community hospital