พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา ธรรมชาติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะขวัญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม, การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทุกคนจำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วน คือ ลักษณะส่วนบุคคล, ความรู้, ทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม, การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.00), ทัศนคติเกี่ยวกับโรคอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.50), แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.00), การรับรู้ความรุนแรง โอกาสเสี่ยง ประโยชน์ และอุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.00) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, SD = 0.412) ระดับความรู้, ระดับทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม และระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญที่ P < 0.05

เอกสารอ้างอิง

กัมปนาท โคตรพันธ์และ นิยม จันทร์นวล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16. 148-160

จันทิมา ห้าวหาญ และพรรณวดี ขาจริง. (2563). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤต โควิด-19. วารสารวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563. 169-178

เชาวลิต เลื่อนลอย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 2(1), 18-33

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบล ปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

ธวัชชัย ยืนยาว, และเพ็ญนภา บุญเสริม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 35(3), 555-564.

นารีมะห์ แวปูเตะ และคณะ. (2564). พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 31-39.

ปรีชา โนภาศ และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรค แรงสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติการควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลเมื่องสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 30(2). 269-279

พรทิวา คงคุณ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้จำหน่ายอาหาร จังหวัดนราธิวาส. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 8(3). 133-146

อภิวดี อินทเจริญ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.

Atchison, C. J., Bowman, L., Vrinten, C., Redd, R., Pristera, P., Eaton, J. W., & Ward, H. (2020). Perceptions and behavioural responses of the general public during the covid-19 pandemic: A cross-sectional survey of uk adults. London: Imperial College London.

Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. New York:David McKay Company.

Clark, C., Davila, A., Regis, M., & Kraus, S. (2020). Predictors of covid-19 voluntary compliance behaviors: An international investigation. Global transitions, 2, 76-82.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง