การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก (Nursing care of septic shock patient) โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รัชดาพร มาศกุล โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก, การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก

บทคัดย่อ

ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (Sepsis) เป็นภาวะวิกฤตคุกคามต่อชีวิตที่สำคัญ เกิดจากกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะช็อก ( Septic shock) นำไปสู่ภาวะที่มีอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (Multiple organ dysfunction)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ กลไกการเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยา ความรุนแรงของ โรคและการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมิน วางแผนการพยาบาล การจัดการดูแล และการฟื้นฟูสภาพสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกที่เข้ารับการคัดกรองที่แผนกผู้ป่วยนอกและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทยอายุ 57 ปี ให้ประวัติว่า 1 วันก่อนมา มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ไม่อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด ผู้ป่วยไปรับการรักษาที่คลินิกได้รับการฉีดยาฆ่าเชื้อและยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ให้กลับบ้าน แต่อาการไม่ทุเลา 1 ชม.ก่อนมา มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียมาก ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลถ้ำพรรณรา ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึมปลุกตื่น (Drowsiness) สัญญาณชีพปกติ  แพทย์รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยใน การวินิจฉัยโรค Pyelonephritis with sepsis ให้ยาต้านจุลชีพ ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ BP 60/40 มิลลิเมตรปรอท  แพทย์ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย ปัสสาวะออกคาสาย  แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ และส่งตัวรักษาต่อที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช รับไว้ในหอผู้ป่วยอายุกรรมชาย  1 วันสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ และพักรักษาตัวรวม 5 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้

กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทยอายุ 40 ปี ให้ประวัติว่า 3 วันก่อนมารพ. มีไข้ หนาวสั่น ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปัสสาวะปกติ ผู้ป่วยไปซื้อยากินเอง ได้รับยา Paracetamol, Brufen, Diclofenac, Ciprofloxacin, Buscopan จนกระทั่ง 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นเศษอาหาร 4 ครั้ง เวียนศีรษะ ไม่มีอาการถ่ายเหลว  ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลถ้ำพรรณรา ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึมปลุกตื่น (Drowsiness)  ความดันโลหิตต่ำเล็กน้อย BP 89/60  มิลลิเมตรปรอท  แพทย์รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยใน การวินิจฉัยโรค Pyelonephritis with septic shock   แพทย์ให้ plasil10 mg vine stat ให้ยาต้านจุลชีพ  ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้ป่วยมีอาการหน้าซีด เหงื่อออกตัวเย็น ชาปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ 87/60 มิลลิเมตรปรอท แพทย์ปรับเพิ่มขนาดยาเพิ่มความดันโลหิต ให้ออกซิเจน cannular 3 LPM และส่งต่อโรงพยาบาลทุ่งสงเพื่อรักษาการรักษาต่อเนื่อง อยู่ รพ.ทุ่งสง 7 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้

         การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก มีอาการและอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งพยาบาลมีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผลให้ครอบคลุม ทุกมิติ โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนการดูแลของ Gordon ในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยประกอบด้วยด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณตามมาตรฐานการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เอกสารอ้างอิง

กองบริหารการสาธารณสุข. (2566). คู่มือสำหรับประชาชนเรื่อง เซ็พสิส (Sepsis). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก : https://phdb.moph.go.th/main/index/download list/53/2

คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). คู่มือแนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ severe sepsis/septic shock (internet). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก http://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledge assets/Siriraj knowledge/ sepsis/3545

นนทรัตน์ จำเริญวงค์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. (2563). การประเมินและการพยาบาล ผู้ป่วยที่มี ภาวะช็อกจาการติดเชื้อในกระแส เลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุข ภาคใต้;7(3):319-29.

รัฐภูมิ ชามพูนท. (2561). Septic Fast Track. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, บรรณาธิการ. ICU Everywhere. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; หน้า 128-137.

Beth MM, Elizabeth B. (2018). Managing sepsis and septic shock: Current guidelines and definitions. AJN;118(2):34-9.

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. (2013). Surviving sepsis campaign: international guidelines for the management of severe sepsis and septic shock. Crit Care Med; 41(2):580-637.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, et al. (2017). Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016.Intensive Care Med; 43(3):304-77.

Rungthanakiat, P., Promtuang, S., & Paengbuddee, C. (2019). Development of the Care Model for Patients with Septicemia using Fast Track System at Surin Hospital. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice.6(2), 36-51. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง