ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดสมอง, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต่อความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จำนวน 15 คน โปรแกรมประกอบด้วย ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และการฝึกทักษะการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยให้กิจกรรมรายบุคคล คนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โปรแกรมและเครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ และแบบประเมินทักษะ ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI = 0.74, 0.70 และ 0.80 ตามลำดับ ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือกับพยาบาลวิชาชีพที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ซึ่งประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้การวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้การทดสอบ KR-20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 2) แบบสังเกตการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คำนวณโดยใช้ Interrater reliability ได้ค่าความตรง เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Wilcoxon Matched-pair Signed rank Test ผลการศึกษาพบว่า การแจกแจงลำดับที่ความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในหลังได้รับโปรแกรมมีความแตกต่างก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นการเพิ่มความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน เกี่ยวกับการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
เอกสารอ้างอิง
กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2539). การควบคุมคุณภาพการพยาบาล เล่ม 5 (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง. (2565) .คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ปภาณิน ศรีแสง.(2563). ผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายทางการพยาบาลต่อความรู้และการบรรลุเป้าหมายในการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(7), 29-39.
ปริมล หงส์ศรี. (2560).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 44(4), 93-104.
ศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง. (2566). ข้อมูลคุณภาพประจำปี2566. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน(ระดับโลกและประเทศไทย). กรุงเทพฯ: ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (Information Technology for Emergency Medical System – ITEMS).
สุรางค์ ช่างเหล็ก. (2564).ผลของการพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการประเมินผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดงานการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย.วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 4(2), 3-14.
Bloom, B.S. (1968). Mastery learning. UCLA-CSEIP Evaluation Comment. Los Angeles. University of California at Los Angeles. Retrieved from https://www.google.com/search?q=bloom+taxonomy
Cherington, David J. (1995). The Manigement of Human Resouce. Englewood Cliffs: Prentice Hall Intemnational.
McClelland, D.C (1999). Identifying competencies with behavioral-event interviews. Retrieved from www.eiconsortium.org/research/business_case_forei.htm.
Smith, R.M. (1982). Learning How to Learn: Applied 'Theory for adult. Chicago: Follet
Publishing Company.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.