ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • นิสาคร วีระกุล โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ความรู้, คุณภาพ, การจัดทำบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้ฯกับคุณภาพของการจัดทำบัญชีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรที่รับผิดชอบการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง จำนวน 95 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอจำนวนและร้อยละ สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้ฯกับคุณภาพการจัดทำบัญชีด้วย Chi-Square test ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ฯระดับปานกลาง ร้อยละ 65.3 และคุณภาพการจัดทำบัญชีระดับปานกลาง ร้อยละ 49.5 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้กับคุณภาพของการจัดทำบัญชีพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ฯ เพศ และประสบการณ์การผ่านการอบรมฯและมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการจัดทำบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Chi-square test เท่ากับ 34.073 6.424 และ 4.810 (p<0.05) ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบบุคลากรควรมีการจัดอบรมและนิเทศเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งควรมีโปรแกรมการจัดทำบัญชีและการเงินที่เสถียรทันสมัย

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ข้อบังคับ/เงินบำรุงและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน [Internet] [เข้าถึงเมื่อ 2566 สิงหาคม 12]. เข้าถึงได้จาก http://auditer.hss.moph.go.th/web_Audit/upload1/maintenance/01.pdf.

กนกพร บุญธรรม. (2563). คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย, วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,13(2), 240-253.

กษิรา สถิตธำรงกุล และรัตชนิดา โพธิ์แก้ว. (2565). ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. จาก http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/23d1939c78bcb60f6eeb47f387b104fb.pdf

กุลนิดา สายนุ้ย. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสร้างเสริมสุขภาพ), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มลฑิรา สายวารี เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2563). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา. ราชาวดีสาร, 10(1), 72-79.

โชษิตา ไพโรจน์ และธนกร สิริสุคันธา. (2564). หลักสูตรฝึกอบรมการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้รับการฝึกอบรมในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง. 3,17-40.

ธมลวรรณ วงษ์ภูธร. (2561). คุณภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขในการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระแก้ว. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. 2561. 676-86

ประวีณา เงินทิพย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานบัญชีและการเงินของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ปริญญานิพนธ์สาขาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี). มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปทุมธานี.

ปราโมทย์ คำภูเงิน. (2562). แนวทางการจัดการเงินบำรุงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 1(1), 29-42.

สรินยา สุภัทรานนท (2563). คุณภาพข้อมูลรายงานทางการเงินและการเติบโตของกิจการ: การตรวจสอบเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 7(2), 4-13.

ศิษฎ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์, ฐานกุล กุฏิภักดี, และนิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ. (2563). การจัดการงานการเงินและบัญชีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35(2), 1-9.

รินภา ทุงจันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหา

สารคาม.

สาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2565). รายงานประจำปี. จาก http://www.tro.moph.go.th/board/board2565/doc/01/Report.pdf.

ณัฐชนน น้านิรัติศัย, และกุลวดี ลิ่มอุสันโน. 2563. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ. จาก https://incbaa.kku.ac.th/img/files/articles/32b28-11.c11-159.pdf

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 2 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก – ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิค (ฉบับปรับปรุง). จาก http://www.fap.or.th.

อรอนงค์ ดิสโร. (2567). ทักษะวิชาชีพบัญชีและมาตรฐานการปฏิบัติงานบัญชีมีอิทธิพลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง