การวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ โรงพยาบาลระนอง
คำสำคัญ:
การติดเชื้อ, การคาสายสวนปัสสาวะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ทบทวนสาเหตุของการตืดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลระนอง ศึกษาโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อปี 2566 จำนวน 10 ราย สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย จำนวน 52 คน ประเมินความรู้และการปฏิบัติกับพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 52 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า1 อุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ 1.59 ครั้ง/1000 วันคาสายสวนปัสสาวะ 2.ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการเกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ มีดังนี้ 1.ด้านโครงสร้าง ได้แก่มีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อจากกการคาสายสวนปัสสาวะที่ชัดเจน แต่เข้าถึงยาก อัตรากำลังไม่เพียงพอ มีการจัดอบรม พัฒนาบุคลากรเรื่องการป้องกันการติดเชื้อจากกการคาสายสวนปัสสาวะ แต่หน่วยงานยังขาดการทบทวนหาสาเหตุของการติดเชื้อ ขาดการสื่อสารกันในหน่วยงาน 2. ด้านกระบวนการ ได้แก่ หน่วยงานยังไม่มีการประเมินความจำเป็นหรือข้อบ่งชี้ในการคาสายสวนปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยบางรายคาสายสวนปัสสาวะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ขาดการลงบันทึกทางการพยาบาล การล้างมือล้างแบบเร่งรีบไม่ครบขั้นตอน ไม่ครบหลัก 5 moment โดยเฉพาะขั้นตอนก่อนการสัมผัสผู้ป่วย การตรึงสายสวนปัสสาวะ การเทปัสสาวะ และการทำความสะอาดอวัยวะก่อนการคาสายสวนปัสสาวะ 3. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ หน่วยงานไม่ทราบอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และไม่ได้นำข้อมูลมาทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างชัดเจน ไม่ได้ประเมินอัตราการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ หน่วยงานทราบผลกระทบของการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะแต่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทาง CAUTI BUNDLE 2.3 ข้อเสนอแนะในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ มีดังนี้ ด้านโครงสร้าง ได้แก่ ควรกำหนดนโยบายและสื่อสารนโยบายแก่หน่วยงานให้ทั่วทั้งองค์กร ต้องการให้ปรับปรุงแนวทางให้สั้นๆ เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่าย ควรจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมตามเกณฑ์ของผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ จัดอบรมหรือจัดทำโครงการลดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะเฉพาะที่หน่วยงาน หรือจัดทำสื่ออื่นๆ สนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้เพิ่ม ทุกหน่วยงานควรจะมีการทบทวนหาสาเหตุของการติดเชื้อทุกเดือน มีการนิเทศควบคุมกำกับโดยหัวหน้าหอ/หัวหน้างาน มีการสนับสนุนอุปกรณ์เพิ่ม 2. ด้านกระบวนการ ได้แก่ ควรมีการประเมินการปฏิบัติโดยหัวหน้าหน่วยงานหรือหัวหน้าเวร ต้องการที่แขวนแอลกอฮอล์ที่เตียงสำหรับเข้าถึงได้ง่าย ต้องการโลชั่น ป้องกันมือแห้ง ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการกำหนดแนวทางการถอดสายสวยปัสสาวะ ต้องการให้มีเครื่องมือ/อุปกรณ์อย่างเพียงพอ 3. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ให้นำเสนอข้อมูลอุบัติการณ์แก่ผู้เกี่ยวข้อง หัวหน้าหน่วยงานควรร่วมประเมินติดตามการปฏิบัติตามแนวทาง และนำเสนอข้อมูลผลกระทบแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ ผลการศึกษาครั้งนี้ สำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล ทีมนำพัฒนาคุณภาพ คณะกรรมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถใช้ข้อมูลนี้ในการพัฒนาคุณภาพลดการเกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาความรู้ ส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้อง จัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์ให้เพียงพอ รวมทั้งนิเทศควบคุมกำกับ เพื่อให้สามารถลดการติดเชื้อให้ลดลง
เอกสารอ้างอิง
ขนิษฐา คงเกิดลาภ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ และ นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2564). การปฏิบัติและอุปสรรคในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย
อายุรกรรม. พยาบาลสาร, 48(3), 104-114.
Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Bloom, Benjamin S.et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.
Donabedian, A. (2003). An introduction to quality assurance in healthcare. Oxford: Oxford University Press.
Dudeck et al., (2015) National Healthcare Safety Network (NHSN) report, data summary for 2013, device- associated module. American Journal of Infection Control, 43(3), 206-221
Hollenbeak, & Schilling, (2018) The attributable cost of catheter-associated urinary tract infections in the United States: A systematic review. American Journal of Infection Control, 46(7), 751- 757.
Kotikula, & Chaiwarith, (2018), Epidemiology of catheter-associated urinary tract infections at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 49(1), 113-122.
Lo et al., (2014). Strategies to prevent catheter-associated urinary tract infections in acute care hospitals: 2014 update. Infection Control and Hospital Epidemiology, 35(5), 464-479.
Rosenthal et al, (2020). International Nosocomial Infection Control Consortium (INICC) report, data summary of 45 countries for 2012-2017: Device-associated module. American Journal of Infection Control, 48, 423-432.
Unahalekhaka,Lueang-a-papong, & Chitreecheur, (2014). Prevention of multidrug resistant organism infections in intensive care units. Nonthaburi: Health Systems Research Institute.
Unahalekhaka et al., (2014). Epidemiology an evidence-based practice guideline in prevention of hospital-associated infections. Chiang Mai: Mingmuang.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.