ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรหมพร สมจันทร์ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การให้คำปรึกษาด้านยา

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของผู้ป่วย และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งคลินิกเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยมีเภสัชกรเป็นผู้ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ต่อปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย เทคนิคในการใช้ยาพ่น ความร่วมมือในการใช้ยาและสมรรถภาพปอด

รูปแบบวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ประชากร คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 – 31 ตุลาคม 2562 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบบันทึกประเมินการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 126 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33  ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยใช้ยาพ่นขยายหลอดลมในขณะที่ไม่มีอาการ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 12.70 รองลงมาคือ ผู้ป่วยมีอาการใจสั่นหลังรับประทานยาขยายหลอดลม จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 เทคนิคการใช้ยาพ่นที่ถูกต้อง ก่อนและหลังให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 และ 2 พบว่า ผู้ป่วยมีเทคนิคการพ่นยาที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.31 เป็น 50.80 และ 58.73 ตามลำดับ และผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.53 เป็น 51.58 และ 57.14 ตามลำดับ ส่วนค่าสมรรถภาพปอด (FEV1) ก่อนและหลังให้คำปรึกษา พบว่า ค่า FEV1 เพิ่มขึ้นจาก 65.50 เป็น 65.96

สรุปผลการวิจัย : การให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยมีเทคนิคการใช้ยาพ่นที่ถูกต้องและมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ป่วยพ่นยาได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ละอองยาเข้าไปในปอดเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดอาการหอบที่รุนแรงลงได้

เอกสารอ้างอิง

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

World Health Organization [Internet]. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) 2017. [Online]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd). [Accessed October 20, 2020].

Ministry of Public Health. HDC-Report. Chronic Obstructive Pulmonary Disease. [Online]. Available from: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf. [Accessed October 20, 2020].

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD) [Internet]. Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease 2020. [Online]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2020/03/GOLD-2020-POCKET-GUIDE-ver1.0_FINAL-WMV.pdf [Accessed March 22, 2021].

โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. (2561). รายงานผลการดำเนินงานของโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2561. ชัยภูมิ: งานแผนงานและยุทธศาสตร์เครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ.

พิจิตรา ศรีมายา, วิระพล ภิมาลย์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช. (2554). ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 3(1): 23-32.

อุไรวรรณ ตระการกิจวิชิต. (2545). ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยในต่อความร่วมมือในการใช้ยาตามสั่งของผู้ป่วยโรคหืดหรือหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie RV, Morgan DW. (1970). Determining Sample Size for Research Activi- ties. Educational and Psychological Measurement, 30(3):607-10.

ASHP Reports. (1997). ASHP guidelines on pharmacist-conducted patient education and counseling. Am J Health-Sysm Pharm, 54(4):431-4.

ณัฐวรรธน์ เลิศภานิธิศ. (2557). ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลดอกคำใต้. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(1):37-44.

สุนทรีย์ พรรษา, พนมสินธุ์ ศรีชาดา, อรุณี ศิวบวรวัฒนา, ศรายุทธ เทศรพีเมธาวีนำชัย. (2559). ผลการให้คำแนะนำเทคนิคการใช้ยาสูดพ่นโดยเภสัชกร ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(3):436-45.

อัญชลี วรรณภิญโญ, ปริญดา พีรธรรมานนท์. (2560). ประสิทธิผลการให้คำปรึกษาเรื่องยาและการติดตามการใช้ยาสูดพ่น โดยเภสัชกรในพระอาพาธโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์, 42(2):49-57.

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน, ภารดี มยาเศส, อนุ ทองแดง. (2557). การประเมินผลลัพธ์ในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลชุมชนประเทศไทย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 10(1):80-92.

พนมพร จันละออ, นรินทร์ จินดาเวช, วิสาขา บุญทศ. (2560). ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความร่วมมือในการใช้ยาพ่นและสมรรถภาพปอด ในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัดวิกฤต, 36(2):45-51.

นงคราญ พรหมปัญญา, พิสมัย ไชยประสพ, ดรุณี มั่นใจวงค์. (2563). ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน. เชียงรายเวชสาร, 12(2):1-14.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน