This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

Effects of drug counseling in the patients with chronic obstructive pulmonary disease in Phu Khieo Chalerm PraKiat Hospital Chaiyaphum Province.

ผู้แต่ง

  • พรหมพร สมจันทร์ Phukieochalermprakiat Hospital, Chaiyaphum Province

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของผู้ป่วย และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งคลินิกเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยมีเภสัชกรเป็นผู้ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ต่อปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย เทคนิคในการใช้ยาพ่น ความร่วมมือในการใช้ยาและสมรรถภาพปอด

รูปแบบวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ประชากร คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 – 31 ตุลาคม 2562 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบบันทึกประเมินการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 126 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33  ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยใช้ยาพ่นขยายหลอดลมในขณะที่ไม่มีอาการ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 12.70 รองลงมาคือ ผู้ป่วยมีอาการใจสั่นหลังรับประทานยาขยายหลอดลม จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 เทคนิคการใช้ยาพ่นที่ถูกต้อง ก่อนและหลังให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 และ 2 พบว่า ผู้ป่วยมีเทคนิคการพ่นยาที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.31 เป็น 50.80 และ 58.73 ตามลำดับ และผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.53 เป็น 51.58 และ 57.14 ตามลำดับ ส่วนค่าสมรรถภาพปอด (FEV1) ก่อนและหลังให้คำปรึกษา พบว่า ค่า FEV1 เพิ่มขึ้นจาก 65.50 เป็น 65.96

สรุปผลการวิจัย : การให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยมีเทคนิคการใช้ยาพ่นที่ถูกต้องและมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ป่วยพ่นยาได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ละอองยาเข้าไปในปอดเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดอาการหอบที่รุนแรงลงได้

 คำสำคัญ : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การให้คำปรึกษาด้านยา

 

Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) is a major cause of illness and death, and has major impact on quality of life. Phu Khieo Chalerm Prakiat Hospital established a COPD clinic and pharmacists provided pharmaceutical care together with a multidisciplinary team.

Objective: To study the outcomes of pharmaceutical care on patient treatments including drug related problems (DRPs), inhaler technique, medication adherence and lung function tests.

Methods: A retrospective descriptive one-group study was carried out on outpatients of Phu Khieo Chalerm Prakiat Hospital from 1st January 2019 to 31st October 2019. All patients were assessed for inhaler technique and  medication adherence before and after counseling intervention. Relevant data were gathered and analyzed using descriptive statistics.

Results: A total of 126 patients were assessed. The majority of patients were male 105 patients (83.33%). Most DRPs were patients using a bronchodilator while exhibiting no symptoms, 16 patients (12.70 %) and had palpitations after taking bronchodilators, 6 patients (4.76 %). Patient’s inhaler technique scores increased by 10.31 % to 50.80 % and 58.73 % before counseling, after the first and second counseling interventions, respectively. Adherence increased by 32.53 %, to 51.58 % and 57.14 % before counseling, after the first and second counseling interventions respectively. Patient’s FEV1 increased by 65.50 % to 65.96 %.

Conclusion: Counseling intervention was found to reduce the problems relating to drug use, improving patient’s inhaler technique and medication adherence, resulting in the decline of acute COPD exacerbation.

Keywords : chronic obstructive pulmonary disease, drug counseling

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-02

เวอร์ชัน