การตะแคงเตียงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังมีผลเพิ่มระดับ การชาขาข้างที่จะผ่าตัดเมื่อเทียบกับไม่ตะแคงในผู้ป่วยผ่าตัดขาที่ไม่สามารถตะแคงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างเพื่อให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร ศรีสุขุมชัย วิสัญญีแพทย์ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

การพลิกตะแคงเตียงผ่าตัด, การเพิ่มระดับการชา

บทคัดย่อ

การให้ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลังเป็นการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย เพื่อการผ่าตัดบริเวณช่องท้องส่วนล่างหรือต่ำกว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในท่าตะแคง ใช้ยา Hyperbaric Bupivacaine จะทำให้ข้างที่ตะแคงลงล่างชามากกว่าข้างที่อยู่ข้างบน หากผู้ป่วยไม่สามารถตะแคงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างขณะให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง อาจทำให้ระดับการชา ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังซ้ำหรือต้องดมยาสลบเพิ่ม

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับการชาของขาข้างที่จะผ่าตัดและไม่ผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ตะแคงเตียงและไม่ตะแคงเตียงข้างที่ผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง

วิธีการวิจัย: ศึกษาวิจัยเชิงทดลองคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized control trial) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดขาในโรงพยาบาลเลยที่เลือกการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังและไม่สามารถตะแคงขาข้างที่จะผ่าตัดลงล่างเพื่อให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง ASA class I-II กลุ่มละ 48 คน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2563

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ศึกษาส่วนใหญ่อายุ < 60 ปี กลุ่มทดลอง 79.2% กลุ่มควบคุม 89.6% ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มทดลอง 70.8% กลุ่มควบคุม 77.1% BMI < 25 คิดเป็น 70.8% เท่ากันทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่ ASA class I กลุ่มทดลอง 64.6% กลุ่มควบคุม 66.7% ปริมาณยาชาที่กลุ่มทดลอง 2.15±0.26 และกลุ่มควบคุม 2.19± 0.22  ผลลัพธ์ทางคลินิก: การตะแคงเตียงข้างที่ผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังช่วยเพิ่มระดับการชา (Anesthetic level) ขาข้างที่จะผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระดับการชาเพิ่มขึ้น 68.8% ชาระดับเท่าเดิม 31.3% และเพิ่มระดับการชาได้ 1.85±1.74 ระดับ (p-value < 0.001)

สรุปผล: การศึกษานี้สามารถพิจารณานำการตะแคงเตียงข้างที่ผ่าตัดลงล่างหลังให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังไปใช้เพื่อการเพิ่มระดับการชาขาข้างที่จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตะแคงข้างที่จะผ่าตัดลงล่างขณะให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังได้

เอกสารอ้างอิง

พรนภา โสภณชัย, สุริสา ศิริวงศ์, อมรรัตน์ เดชเจริญ, วรินี เล็กประเสริฐ, มะลิ รุ่งเรืองวานิช, เมธินี พิศาลายน. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อต่อความสำเร็จของการฉีดยาชา เข้าทางช่องน้ำไขสันหลัง ในโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิสัญญีสาร, 33(2):85-92.

R J Munhall, R Sukhani, A P Winnie. (1998). Incidence and etiology of failed spinal anesthetics in a university hospital: a prospective study. Anesth Analg, 67(9):843-8.

R L Carpenter, R A Caplan, D L Brown, C Stephenson, R Wu. (1992). Incidence and risk factors for side effects of spinal anesthesia. Anesthesiology, 76(6):906-16.

Jović Marija, Stošić Biljana, Videnović Nebojša, Mitić Rade, Stanković Danijela. (2017). Risk factors for hypotension after spinal anesthesia. Acta medica Medianae, 56(2):105-10.

Paul GB. [edited]. (2010). Clinical Anesthesia. 6thed. Philadelphia, USA: Lippincott Williams & Wilkins.

N M Greene. (1985). Distribution of Local Anesthetic Solutions within the Subarachnoid Space. Anesth Analg, 64(7):715-30.

Bernd Hartmann, Axel Junger, Joachim Klasen, Matthias Benson, Andreas Jost, Anne Banzhaf, et al. (2002). The incidence and risk factors for hypotension after spinal anesthesia induction: an analysis with automated data collection. Anesth Analg, 94(6):1521-9.

Ki Hwa Lee, Soo Jee Lee, Jae Hong Park, Se Hun Kim, Hyunseong Lee, Dae Seok Oh, et al. (2020). Analgesia for spinal anesthesia positioning in elderly patients with proximal femoral fractures: Dexmedetomidine-ketamine versus dexmedetomidine-fentanyl. Medicine (Baltimore), 99(20):e20001.

J Barré, P Lefort, M Payen. (1996). Locoregional anesthesia for injuries of the lower limbs. Cah Anesthesiol, 44(3):197-201.

L Elzinga, M Marcus, D Peek, P Borg, J Jansen, J Koster, et al. (2009). Hemodynamic stability ensured by a low dose, low volume, unilateral hypobaric spinal block: modification of a technique. Acta Anaesthesiol Belg, 60(4):217-20.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน