ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนจากครอบครัวร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • โรจกร ลือมงคล โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนจากครอบครัว, คู่หูดูแลกัน , จิตเภท , ความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง

บทคัดย่อ

 การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนจากครอบครัวร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจำนวน 32 คน ซึ่งถูกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดอาการทางจิต Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) และการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way repeated measures ANOVA และ Binomial exact probability test

ผลการศึกษา : พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทางจิตของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรม 1 เดือน (= 34.65, SD = 8.53) และ 3 เดือน ( = 31.96, SD = 7.42) ต่ำกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม (= 39.09, SD = 10.49) และความแตกต่างนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1.21,37.74 = 17.75, p < 0.001) นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า หลังได้รับโปรแกรม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการกำเริบซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) ในขณะที่อัตราความร่วมมือในการกินยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.016)

ผลของการศึกษานี้บ่งชี้ว่า โปรแกรมแรงสนับสนุนจากครอบครัวร่วมกับคู่หูดูแลกันมีประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ดังนั้นควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ในสถานบริการอื่นๆ ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

พิชญา วัฒนการุณ, กังสดาล จิรอุไรพงศ์, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม, ณภัทร วรากรอมรเดช, ปราณีต ชุ่มพุทรา, บรรณาธิการ. (2560). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน สำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์.

เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, ชิดชนก โอภาสวัฒนา, ชลลดา จารุศิริชัยกุล, บรรณาธิการ. (2561). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/ โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ:

พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางในการปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเภท. [ออนไลน์]. จาก http://www.jvkk.go.th:8080/web_jvkk_th/mem-bersystem/myfile/jvkk_s.pdf [อ้างเมื่อ 12 ตุลาคาม

.

โรงพยาบาลจิตสงขลาราชนครินทร์. คู่มือการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชนสำหรับเครือข่าย. [ออนไลน์]. จาก http://www.skph.go.th/newskph/Doc_file/GuideToPatientCare.pdf [อ้างเมื่อ 12 ตุลาคาม 2563].

โรงพยาบาลคอนสวรรค์. ข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช ปีงบประมาณ 2563. (2563). [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: โกลุ่มงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลคอนสวรรค์.

โรจกร ลือมงคล, สินีนุช สมรรถชัย. (2563). สาเหตุของ การกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลคอนสวรรค์.

อติญา โพธิ์ศรี. (2562). การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: กรณีศึกษาที่ชุมชนบ้านท่าม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(1):1-6.

Pender NJ. (1987). Health promotion in nursing practice. 2nd ed. Norwalk, CT: Appleton & Lange.

อรสา วัฒนศิริ, เสาวภา ศรีภูสิตโต. (2556). การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแล โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล, 40(1):67-83.

พิเชษฐ พีดขุดทด. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอระหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2):95-107.

เครือข่ายบริการสุขภาพจิตตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. โมเดลบัดดี้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช [ออนไลน์]. จาก https://www.youtube.com/watch?v=pLVsUcdSsfY [อ้างเมื่อ 1 เมษายน 2564].

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1):496-507.

House JS. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley.

Overal JE, Gorham DR. (1962). The brief psychiatric rating scale. Psychol Rep, 10(3):799-812.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2546). โรคจิตจากเมทแอมเฟตามีน: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสวนปรุง, 19(1):1-15.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน