การใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นในการรักษาบาดแผลเรื้อรังในโรงพยาบาลจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
บาดแผลเรื้อรัง, เกล็ดเลือดเข้มข้นบทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดขนาดเล็กตีบตันที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่นผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นจะหายช้าหรือไม่หาย การใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเร่งให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังด้วยวิธีทำปกติ กับวิธีรักษาด้วยเกร็ดเลือดเข้มข้น
วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ (Cohort study) ในผู้ป่วยรายเดียวกันที่มารับบริการใน รพ.เลย ด้วยวิธีทำแผลปกติกับวิธีรักษาด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 – พฤศจิกายน 2563
ผลการวิจัย: กลุ่มที่ศึกษาทั้งหมด 8 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 1 คน อายุเฉลี่ย 57 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 74 kg. ทั้งหมดมีบาดแผลเรื้อรังบริเวณเท้า ระยะเวลาที่เป็นแผลเฉลี่ย 38 เดือน มีโรคประจำตัวเบาหวาน 4 คน โลหิตจาง 1 คน ทุพโภชนาการ 1 คน
ผลลัพธ์ทางคลินิก: เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยขนาดแผลวิธีปกติและวิธีใช้เกร็ดเลือดเข้มข้น พบว่ามีอย่างน้อยหนึ่งคู่ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.001) จำแนกเป็น ระยะที่ 1 (Baseline period) การทำแผลแบบปกติสัปดาห์ที่ 1-4 ขนาดแผลเฉลี่ย 14.00 ± 12.2 ซม. ลดลงเป็น 13.4±11.7 ซม. (F= 4.84, p= 0.010) ขนาดแผลลดลงเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2 ซม. ระยะที่ 2 (Treatment period) ทำแผลโดยใช้เกร็ดเลือดสัปดาห์ที่ 5-12 ขนาดแผลเฉลี่ย 13.3± 12.2 ซม. ลดลงเป็น 2.1± 3.6 ซม. (F= 8.23, p< 0.001) ขนาดแผลลดลงเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1.4 ซม. หลังดำเนินการมีผู้ป่วยแผลหายสนิทจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5
สรุปผล: การทำแผลวิธีให้เกล็ดเลือดเข้มข้นทำให้แผลมีขนาดเล็กลงมากกว่าการทำแผลแบบปกติ จึงควรนำไปประกอบการพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการรักษาผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Marx RE, Carlson ER, Eichstaedt RM, Schimmele SR, Strauss JE, Georgeff KR. (1998). Platelet-rich plasma: Growth factor enhancement for bone grafts. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod, 85(6):638-46.
Garg AK. (2000). The use of platelet-rich plasma to enhance the success of bone grafts around dental implants. Dent Implantol Update, 11(3):17-21.
Abuzeni P, Alexander RW. (2001). Enhancement of autologous fat transplantation with platelet rich plasma. Am J Cosmetic Surg, 18(2):59-70.
Monteleone K, Marx R, Ghurani R. (2000). Wound Repair/Cosmetic Surgery Healing Enhancement of Skin Graft Donor Sites with Platelet-Rich Plasma. Presented at the 82nd Annual American Academy of Oral and Maxillofacial Surgery Meeting September 22, 2000, San Francisco, CA.
Margolis DJ, Kantor J, Santanna J, Strom BL, Berlin JA. (2001). Effectiveness of platelet releasate for the treatment of diabetic neuropathic foot ulcers. Diabetes Care, 24(3):483-8.
Marx RE. (2004). Platelet-rich plasma: Evidence to support its use. J Oral Maxillofac Surg, 62(4):489-96.
Cohen IK, Diegelman R, YeagherD, Waren I. Wound care and wound healing. In. Seymour I. Schwartz, editors. (1999). principles of surgery. New York, NY: McGrawHill :263–96.
Carroll RJ, Arnoczky SP, Graham S, O'Connell SM. (2005). Characterization of Autologous Growth Factors. Cascade® Platelet-Rich Fibrin Matrix (PRFM). Edison, NJ: Musculoskeletal Transplant Foundation.
Eby BW. (2002). Platelet-rich plasma: harvesting with a single-spin centrifuge. J Oral Implantol, 28(6):297-301.
David M Dohan Ehrenfest, Lars Rasmusson, Tomas Albrektsson. (2009). Classification of platelet concentrates: from pure platelet-rich plasma (P-PRP) to leucocyte- and platelet-rich fibrin (L-PRF). Trends Biotechnol, 27(3):158-67.
David M Dohan, Joseph Choukroun, Antoine Diss, Steve L Dohan, Anthony J J Dohan, Jaafar Mouhyi. et al. (2006). Platelet-rich fibrin (PRF): a second-generation platelet concentrate. Part I: technological concepts and evolution. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod, 101(3):e37-44.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-13 (3)
- 2021-08-02 (2)
- 2021-07-19 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.