การแก้ไขฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันบนโดยใช้เครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้ : รายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ อัศวบุญญาเดช กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ฟันหน้าสบคร่อม , เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้

บทคัดย่อ

ปัญหาฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันบน จำเป็นต้องแก้ไขทันทีเมื่อตรวจพบเพื่อป้องกันการสึกของฟันหน้าล่าง การแตกหักของฟัน ฟันโยกจากการสบกระแทก อวัยวะปริทันต์ถูกทำลาย และความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร เพื่อให้ผู้ป่วยมีการสบฟันและการเจริญของโครงสร้างใบหน้าเป็นปกติ ลดโอกาสการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่ต้องร่วมกับการผ่าตัด การแก้ไขสามารถเลือกใช้เครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้เพื่อเคลื่อนฟันเฉพาะตำแหน่งที่ผิดปกติเพียง 1-2 ซี่ได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษา คือ การแก้ไขความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มในฟันชุดผสม การคัดเลือกผู้ป่วยและเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม รวมทั้งความร่วมมือของผู้ป่วยในการใส่เครื่องมือ

รายงานผู้ป่วยเด็กหญิงไทยอายุ 9 ปี 9 เดือน มาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหาฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันบน  ตรวจในช่องปากพบว่าฟันซี่ 11 สบคร่อมกับฟันซี่ 41 ฟันซี่ 21 สบคร่อมกับฟันซี่ 31 และฟันซี่ 12     สบคร่อมกับฟันซี่ 42 มีเหงือกร่นบริเวณฟันซี่31ร่วมด้วย วางแผนการรักษาโดยใช้เครื่องมือ        ทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้ที่ออกแบบให้มีสปริงร่วมกับแผ่นระนาบกัดด้านหลังเพื่อเปิดระนาบการสบฟัน ภายหลังใส่เครื่องมือเป็นระยะเวลา 2.5 เดือนสามารถแก้ไขฟันหน้าที่สบคร่อมผิดปกติได้ และเมื่อติดตามการรักษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าผลเป็นที่น่าพอใจ

เอกสารอ้างอิง

Tsai HH. (2001). Components of anterior crossbite in the primary dentition. ASDC J Dent Child, 68(1):27-32.

PW Major, K Glover. (1992). Treatment of anterior cross-bites in the early mixed dentition. J Can Dent Assoc, 58(7):574-5.

Valentine F, Howitt JW. (1970). Implications of early anterior crossbite correction. J Dent Child, 37(5):420-7.

Park JH, Kim TW. (2009). Anterior crossbite correction with a series of clear removable appliances: A case report. J Esthet Restor Dent, 21(3):149-59.

Bayrak S, Tunc ES. (2008). Treatment of anterior dental crossbite using bonded resin-composite slopes: Case reports. Eur J Dent, 2(4):303-6.

Park JH, Kim TW. (2009). Anterior crossbite correction with a series of clear removable appliances: A case report. J Esthet Restor Dent, 21(3):149-59.

Charunee Rattanayatikul. (1998). Anterior crossbite in mixed dentition: A comprehensive review. KDJ, 1(2):2-8.

Rabies ABM, Gu Y. (1999). Management of pseudo Class III malocclusion in southern Chinese children. Br Dent J, 186 (4 Spec No):183-7.

Gu Y, Rabies ABM. (2000). Treatment effects of simple fixed appliance and reverse headgear in correction of anterior crossbite. Am J Orthod, 117(6):691-9.

Mamandras AH, Magli LA. (1984). Orthodontic treatment of a pseudo-class III malocclusion. A case report. J Can Dent Assoc, 50(10):779-81.

Seehra J, Fleming PS, DiBiase AT. (2009). Orthodontic treatment of localised gingival recession associated with traumatic anterior crossbite. Aust Orthod J, 25(1):76-81.

Wipattanabawonwong P. (2015). A case study: Treatment of anterior dental crossbite by removable orthodontics appliances. Research and development health system journal, 7(3):258-61.

สัจจพร พรรคอนันต์. (2558). รายงานผู้ป่วย: การแก้ไขฟันหน้าล่างสบคร่อมโดยใช้เครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 5(1):88-93.

Troelstrup B, Moller E. (1970). Electromyography of the temporalis and masseter muscles in children with unilateral cross-bite. Scand J Dent Res, 78(5):425-30.

Tse CS. (1997). Correction of single-tooth anterior crossbite. J Clin Orthod, 31(3):188-90.

Kiyak HA. (2006). Patients’ and parents’expectations from early treatment. Am J Orthod Dentofacial Orthop, 129(4 Suppl):S50-4.

Littlewood SJ, Tait AG, Mandell NA, Lewis DH. (2001). The role of removable appliances in contemporary orthodontics. Br Dent J, 191(6):304-10.

ศศิวรรณ ลิ้มรสเจริญวงศ์. (2563). รายงานผู้ป่วย: การรักษาฟันหน้าสบคร่อมโดยใช้เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ในผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 3(2):64-71.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน