ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563

ผู้แต่ง

  • ปราณี ชัยหลาก ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • อรุณรัตน์ สู่หนองบัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชัยภูม

คำสำคัญ:

เบาหวาน, ส่งยาถึงบ้าน , โควิด-19

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ได้มีโครงการส่งยาถึงบ้านในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางส่วนตามความสมัครใจ  เพื่อลดความแออัดและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” โดยเริ่มมีการส่งยาทางไปรษณีย์ตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งในปี 2563 มีการส่งยาถึงบ้านทางไปรษณีย์ให้ผู้ป่วยตามวันนัดหมาย รายละ 1-2 ครั้ง ซึ่งไม่ต้องมาพบแพทย์ประมาณ 3-6 เดือน 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ที่ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563 และเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มารักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิและกลุ่มที่ส่งยาถึงบ้าน

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c, FBS) และระดับไขมันในเลือด(LDL) จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (HOSxP) ของโรงพยาบาลชัยภูมิ เปรียบเทียบระหว่างปี 2562 และปี 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิและกลุ่มที่สมัครใจให้ส่งยาถึงบ้านทางไปรษณีย์ ในปี 2563 กลุ่มละ 192 ราย รวมเป็น 384 ราย โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย HbA1C, FBS, LDL, BMI ปี 2562 และปี 2563 ด้วย Pair t-test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยสถิติ Independent  t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.9) อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 57.3 อายุเฉลี่ย 61.7 ± 10.2 ปี ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2562 พบว่า HbA1c<7% ร้อยละ30.7, FBS <130 mg% ร้อยละ 20.6, LDL<100 mg% ร้อยละ 58.0 และปี 2563 พบว่า HbA1c<7% ร้อยละ 32.0, FBS <130 mg% ร้อยละ 23.4, LDL <100 mg% ร้อยละ 45.3

การเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2562 และ 2563 พบว่า ค่าเฉลี่ยของ HbA1c=7.96 ± 1.59 และ7.92 ± 1.58, FBS =167.2± 51.6 และ163.8± 48.1, LDL=97.0± 33.4 และ105.2±31.8 (p-value=.590, .184 และ <0.001) ส่วน BMI =26.2±4.5 และ 26.1± 4.6 (p-value=.397)

การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มารักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและกลุ่มที่ส่งยาถึงบ้าน ในสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ปี 2563 ค่าเฉลี่ยของ HbA1c=7.83±1.70 และ 8.11±1.58, FBS= 163.9±52.2 และ 163.6±43.6, LDL=108.4±32.1 และ 101.8±31.3  (p-value=.286, 948 และ.045)

สรุป : ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563 ทั้งกลุ่มที่มาพบแพทย์ต่อเนื่องและกลุ่มที่ส่งยาถึงบ้าน มีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการส่งยาถึงบ้านจึงเป็นทางเลือกในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เหมาะสมในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

เอกสารอ้างอิง

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย . (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน2560. ปทุมธานี : บริษัท. ร่มเย็นมีเดีย จำกัด.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2562. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1023820191114033719.pdf [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2564]

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2562) แถลงข่าววันเบาหวานโลก 2562. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก. https://www.hfocus.org/content/2019/11/18031 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2564]

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2563). กลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลเพื่อตอบสนอง service plan สาขาโรคไม่ติดต่อ. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.102.136/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2564]

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.). (2563). คู่มือการจัดการ COVID-19 สำหรับสถานประกอบกิจการ. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จากhttps://www.ohswa.or.th/17528536 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2564].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). สู้ โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตนเองสำหรับประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/img/infographic/info_m_280463.pdf [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564]

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ HDC. ข้อมูลตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT,CVD). เข้าถึงได้จาก https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b [เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2564].

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สธ.จัดบริการการแพทย์แบบวิถีใหม่ ลดแออัดป้องกันโรคโควิด19. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=21659 [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564]

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กลุ่มงานเภสัชกรรม. (2563). การจัดส่งยาทางไปรษณีย์ให้ผู้ป่วยแบบด่วนพิเศษในสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่หรือCovid-19 ระบาด. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก http://www.ayhosp.go.th/ayh/index.php/quality-day-2563?layout=edit&id=5584 [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564]

โรงพยาบาลศรีนครินทร์. (2563). โครงการส่งยาถึงบ้านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ลดความเสี่ยงเลี่ยงโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://md.kku.ac.th/Home/activity_detail/100170 [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564]

โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี. (2563). วิถีใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อช่วงโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/innovative-ways-to-care-for-ncd-patients-in-thailand-in-covid-19-time-th [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564]

อภิญญา เนียมเล็ก และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อCOVID-19.[อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก http://data.ptho.moph.go.th/ptvichakarn63/uploads/15511_0701_20200818054012.pdf [เข้าถึงเมื่อ3 กุมภาพันธ์ 2564]

ปิยะวัฒน์ รัตนพันธุ์, ประดับ เพ็ชรจรูญ และ สิรินยา สุริยา. (2563). การพัฒนาระบบจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019. เชียงรายเวชสาร, 12(2):48-66.

พรรษา ปัญจะศรี,ไพรวรรณ เขื่อนแก้ว และทัศนีย์ บุญอริยเทพ. (2554). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดและฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 19(2):78-84.

นิคม ถนอมเสียง. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่าง Sample Size Determination. [อินเทอร์เน็ต] 2561. เข้าถึงได้จาก :https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564]

สมหวัง ซ้อนงาม และคณะ. (2556). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่มีผล HbA1C มากกว่า 7 ของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. เข้าถึงได้จาก :: http://www.plkhealth. go.th/ncd/ index.php [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564]

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน