การพัฒนาคุณภาพบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ ชัยชูบุตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ, คลินิกเบาหวาน

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางหวาย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการคลินิกเบาหวานและสนับสนุนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) เป็นกรอบในการประเมินการดูแลผู้ป่วย และแนวคิดการพัฒนาคุณภาพบริการของโดนาบีเดียน (Donabedian) 

กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ให้บริการคลินิกเบาหวาน จำนวน 5 คน ผู้ป่วยเบาหวานรายเก่าที่มีระดับน้ำตาลมากกว่า 18 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน แลลประเมินความพึงพอใจผู้ให้บริการและผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Paired t-test ระยะเวลาในการพัฒนาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - กันยายน 2556 ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการเป็นการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับทีมผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการ ระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์และวางแผนต่อเนื่อง

ผลการศึกษา: พบว่าสถานการร์การให้บริการคลินิกเบาหวานปัญหาที่พบด้านโครงสร้างในการจัดบริการผู้ป่วยเบาหวาน บุคลากรในการดำเนินงานน้อย บทบาทหน้าที่ทีมสหวิชาชีพไม่ชัดเจน ขาดแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวกระบวนการดูแลขาดจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเอง ขาดสื่อการให้ความรู้ รูปแบบการให้ความรู้ไม่มีแบบแผน การดูแลต่อเนื่องขาดแนวทางการเยี่ยมบ้านที่ชัดเจน การส่งเสริมสุขภาพชุมชนขาดความต่อเนื่อง ด้านระบบข้อมูลบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานด้งยคอมพิวเตอร์ ไม่ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการให้บริการ ผู้ป่วยเบาหวานมีการจัดการตนเองด้านอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาไม่เหมาะสม จากประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงดำเนินการพัฒนาทีมผู้ให้บริการ และพัฒนาผู้ป่วยเบาหวาน ภายหลังการพัฒนาพบว่ามีโครงสร้างเชิงระบบและกระบวนการทำงานที่ชัดเจนขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองหลังพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05) คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานและผู้ให้บริการอยู่ในระดับพึงพอใจมาก สำหรับผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของระดับน้ำตาลในเลือดหลังการพัฒนาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05)

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Prevention of Diabetes Mellitus. WHO Technical Reprots Series 727. Geneva : WHO, 1994.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ, 2556:74-81.

เทพ หิมะทองคำ และคณะ. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2550.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, 2556:17-18.

The Chronic Care Model. Retrieved January 10, 2007. from http:// www.improvingchroniccare.org/change/ index.html.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล.การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท. 2546.

นิตยา วันวาน. การพัฒนาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552.

เพ็ชรรัตน์ แดงน้อย. การพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพที่บ้านสำหรับครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552.

ยุพาพร มาพะเนาว์. การพัฒนาคุณภาพบริการผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552.

ศรีสุดา เสริมกล้า. การพัฒนาการให้บริการของคลินิกผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลลำดวน. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2546.

สมรหมาย หนูทอง. การพัฒนาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศรีธาตุ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2550.

วิจิตรา มีรัตน์. การพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555.

Shojania K.G, Ranji S.R, MC Donal K.M, Grimsha J.M, Sandaram V, Rushakoff R.J, et al. (2006). Effects of Quality Improvement Strategies for Type 2 Diabetes on Glycemic Comtrol. JAMA, 4(296):427-440.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20