ผลการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด หอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • พูลสวัสดิ์ โพธิ์ทอง พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเลย
  • สุรีพร กระฉอดนอก พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเลย
  • พิชัย บุญมาศรี พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเลย
  • ระพีพรรณ นันทะนา พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การเฝ้าระวังและการป้องกัน, การตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

หอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเลย มีอุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอดใน ปี 2558-2560 คิดเป็นร้อยละ 0.81, 0.84 และ 1.24 มีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ จากการทบทวนกระบวนการดูแลมารดาหลังคลอด พบว่า เกิดจากการประเมินและเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดที่ไม่สอดคล้องครอบคลุมเหมาะสมกับความรุนแรงของอาการการรายงานแพทย์ล่าช้า จึงนำไปสู่การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด  

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ในหอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวชโรงพยาบาลเลย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 6 คน และมารดาหลังคลอดจำนวน 581 คน ระยะเวลาการวิจัยระหว่างเดือน มกราคม-มิถุนายน 2562 ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ McTagart (1988) 2 วงรอบๆ ละ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1)วางแผนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 2)ปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกตการณ์และ 4) การสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและร้อยละ

ผลการวิจัยระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอดประกอบด้วย 1) การประเมินระดับความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอด 2) การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดตามระดับความเสี่ยง 3) การให้ความรู้มารดาหลังคลอดและญาติเรื่องการสังเกตอาการ และ 4)การรายงานแพทย์และประสานการส่งต่อ ก่อนการพัฒนามารดาตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 0.6 ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 18,627บาท/คน และวันนอนเฉลี่ย 5 วัน/คน หลังการพัฒนาพบว่ามารดาตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 0.3 ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 13,760 บาท/คน และวันนอนเฉลี่ย 3 วัน/คน ระดับพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อระบบการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 100 การตกเลือดหลังคลอด ค่ารักษาพยาบาลและจำนวนวันนอนลดลง จึงเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาลวิชาชีพในการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด เพื่อให้บริการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีคุณภาพต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย. (2562). สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี : กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ศิริวรรณ วีเลิศ, ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ, และ ดรุณี ยอดรัก. (2559). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัพพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดทางช่องคลอด ในหอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. วารสารสภากาชาดไทย, 9(2):173-90.

Carroll M, Daly D, Begley CM. (2016). The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: a systematic review. BMC Pregnancy Childbirth, 16(1):1-11.

Tort J, Rozenberg P, Traoré M, Fournier P, Dumont A. (2015). Factors associated with postpartum hemorrhage maternal death in referral hospitals in Senegal and Mali: Across sectional epidemiological survey. BMC Pregnancy Childbirth, 15(1):1-9.

Kemmis S, McTaggart R. (1990). Action Research Reader. Geelong: Deakin University Press.

Mousa HA, Alfirevic Z. (2007). Treatment for primary postpartum hemorrhage. Cochrane Database Syst Rev, 1:1–25

Murray SS, McKinney ES. (2014). Pain management during childbirth. In Foundation of Maternal-Newborn and Women’s Health Nursing. 6th ed. United States of America: Saunders Elsevier.

Pillitteri A. (2014). Maternal and child health nursing: care of the childbearing and childrearing Family. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2):146-57.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์ สุชาตา วิภวกานต์ และอารี กิ่งเล็ก. (2559). การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้, 3(3):127-41.

นววรรณ มณีจันทร์ และ อุบล แจ่มนาม. (2560). ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์, 31(1):143-55.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23