การศึกษาผลบวกลวงของการใช้ชุดทดสอบตรวจเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของผู้ ต้องสงสัยที่ส่งตรวจเพื่อยืนยันที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ มาตา กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

เมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า), ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ, ผลบวกลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีตรวจเบื้องต้น (Screening Test) กับวิธีการตรวจยืนยัน (Confirming Test) โดยวิธี TLC กลุ่มตัวอย่างได้แก่ปัสสาวะของผู้ต้องสงสัยที่ตรวจเบื้องต้นแล้วให้ผลบวกจากสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่นๆ ภายในจังหวัดชัยภูมิ ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 3,428 ราย และในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 2,261 ราย โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือตารางที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และผลการตรวจเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีการตรวจเบื้องต้น และการตรวจยืนยันโดยวิธี TLC โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

จากการศึกษาผลการตรวจเมทแอมเฟตามีนเบื้องต้นโดยใช้ชุดทดสอบ พบว่าให้ผลบวกลวง เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจยืนยันโดยวิธีมาตรฐาน TLC ในปี 2559 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,428 ราย พบให้ผลบวกจริงโดยวิธี TLC จำนวน 2,883 รายคิดเป็นร้อยละ 84.10 และให้ผลลบจำนวน 545 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.90 และในกลุ่มตัวอย่างปี 2560 จำนวน 2,261 ราย ให้ผลบวกจริงโดยวิธี TLC จำนวน 2,002 รายคิดเป็นร้อยละ 88.54  ให้ผลลบจำนวน 259 ราย  คิดเป็นร้อยละ 11.46 

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า การใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นในการตรวจหาเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะอย่างเดียว โดยไม่ส่งตรวจยืนยันอาจส่งผลต่อผู้ต้องสงสัยได้ ถ้าผู้ต้องสงสัยไม่ได้เสพยาบ้า แต่ทานยาตัวอื่นที่มีอนุพันธ์คล้ายยาบ้า ซึ่งอาจทำให้เขาสูญเสียโอกาสหลายๆอย่าง ด้วยกฎหมายปัจจุบันเปิดโอกาสให้ใช้ผลเบื้องต้นขึ้นศาลได้โดยไม่ต้องใช้ผลยืนยัน ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีผลการตรวจเบื้องต้นที่ให้ผลลบมาทำการตรวจยืนยันเพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาศึกษาหาค่า sensitivity และ specificity ของชุดทดสอบเบื้องต้น จากการศึกษาครั้งนี้อาจจะเก็บข้อมูลทั่วไปน้อย ในการศึกษาครั้งต่อไปควรเก็บให้มากขึ้นเช่นอาชีพ การศึกษา เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงยุติธรรม. (2561). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2561. กรุงเทพฯ : ส่วนติดตามและประเมินผล สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

กระทรวงยุติธรรม. (2561). แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2562. กรุงเทพฯ : ส่วนติดตามและประเมินผล สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2541). “คู่มือการตรวจหายาบ้ายาอีในปัสสาวะ”. กรุงเทพฯ : กองวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

ภัทรวดี พงษ์ระวีวงศา, พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล. (2544). ผลของยาที่ใช้รักษาโรคทั่วไปต่อการตรวจหายาบ้าในปัสสาวะด้วยวิธีเทียบสี. เชียงใหม่เวชสาร, 40(2):69-78.

กำพล เครือคำขาว, วิชาญ เกี่ยวการค้า.(2551) .ผลบวกลวงของการใช้ชุดทดสอบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ โดยวิธีเทียบสีและภูมิคุ้มกัน. ลำปางเวชสาร, 29(1):1-11.

พันตำรวจโทหญิงจิตตวดี ประสงค์. (2556). เอกสารศึกษา: บทความ เรื่อง แนวทางการตรวจพิสูจน์ยาบ้า. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการตํารวจ กองบัญชาการศึกษา สํานักงานตํารวจแห่งชาติ.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23