การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ, ระบบการพยาบาล, แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R and D ) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อและประเมินผลลัพธ์การพัฒนาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.เลย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือ พยาบาลแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 26 คน และผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ 117 ราย ระยะเวลาศึกษาระหว่าง มีนาคม – ตุลาคม 2562 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากรายงานการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการ 2 วงรอบ วงรอบละ 4 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผน 2) ดำเนินการ 3) การประเมินผล 4)ปฏิบัติการ
ผลการวิจัยแบ่งตามขั้นตอนดังนี้ วงรอบที่ 1 (มีนาคม – มิถุนายน 2562) ผู้ป่วย 59 ราย คัดกรองภาวะติดเชื้อโดยใช้อาการแสดงของภาวะติดเชื้อ 2 ใน 3 ได้ ร้อยละ 83 การรายงานผลระดับแลคติกในเลือด ร้อยละ 68 การบริหารสารน้ำเพียงพอตามแผนการรักษา ร้อยละ 80 การบริหารยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังคำสั่งการรักษา ร้อยละ 78 เฝ้าระวังตามเกณฑ์ SOS score ร้อยละ 52 ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า ไม่เพียงพอตามแผนการรักษา โดยผู้ป่วยมี SBP ต่ำกว่า 90 mm.Hg ร้อยละ 31 และ MAP <65 mm.Hg ร้อยละ 17 จากการสนทนากลุ่มพยาบาลวิชาชีพพบสาเหตุ คือ แนวปฏิบัติเดิมไม่เหมาะกับบริบทหน่วยงาน ขาดระบบที่สนับสนุนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และภาระงานที่มากเนื่องจากผู้ป่วยล้น นำไปสู่การวางแผนสนับสนุนการปฏิบัติ โดยปรับปรุงแนวปฏิบัติเดิมเพื่อสร้างช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วย ร่วมกันปรับปรุงระบบมอบหมายงาน ร่วมกับแพทย์และหอผู้ป่วยในทบทวนและปรับปรุงเกณฑ์ส่งย้ายผู้ป่วย วงรอบที่ 2 (กรกฎาคม - ตุลาคม 2562) โดยผู้วิจัยจัดให้ความรู้ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแพทย์และพยาบาล มอบหมายงานตามแผน และสื่อสารเกณฑ์การส่งย้ายผู้ป่วยแก่แพทย์และพยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ผลพบว่าการรายงานผลระดับแลคติกในเลือดเพิ่มจาก ร้อยละ 68 เป็น 76 การบริหารสารน้ำเพียงพอตามแผนการรักษาเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 80 เป็น 90 การบริหารยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังคำสั่งการรักษาเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 78 เป็น 91 และการเฝ้าระวังตามเกณฑ์ ร้อยละ 52 เป็น 61 ค่า SBP ต่ำกว่า 90 mm.Hg ลดลงจาก ร้อยละ 31 เป็น 12 และค่า MAP น้อยกว่า 65 mm.Hg ลดลงจาก ร้อยละ 17 เป็น 5 ดังนั้นการมีระบบงานที่ชัดเจนทำให้เกิดข้อกำหนดในการปฏิบัติ เกิดความมั่นใจและพึงพอใจในการทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อถูกค้นพบ และได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ได้รับการเฝ้าระวังเพื่อแก้ไขการเปลี่ยนแปลง และการนำส่งที่รวดเร็วและปลอดภัย
เอกสารอ้างอิง
Dellinger P, Levy M, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal M, et al. (2013). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of severe sepsis and septic shock, 2012. Intensive Care Med, 39(2):165-228.
Leelarasamee A. (2008). Septic shock: More than just antibiotic. Update on infectious diseases: An evidence based approach to patient care, 56-103.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. (2560). ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารกรพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3):224-31.
Jacob ST, Banura P, Baeten JM, Moore CC, Meya D, Nakiyingi L, et al. (2012). The impact of early monitored management on survival in hospitalized adult Ugandan patients with severe sepsis: A prospective intervention study. Critical Care Medicine, 40(7):2050-58.
CannonCM, Holthaus CV, Zubrow MT, Posa P, Gunaga S, Kella V, et al. (2012). The GENESIS project (GENeralized early sepsis intervention strategies): A multicenter quality improvement collaborative. Journal of Intensive Care Medicine, 28(6):355-68.
Palleschi MT, Sirianni S, OConnor N, Dunn D, Hasenau SM. (2014). An interprofessional process to improve early identification and treatment for sepsis. Journal for Healthcare Quality, 36(4):23-31.
Miller RR, Dong L, Nelson NC, Brown SM, Kuttler KG, Probst DR, et al. (2013). Multicenter implementation of a severe sepsis and septic shock treatment. American Journal of Respiratory Critical Care Medicine, 188(1):77-82.
วิทยา บุตรสาร, ยุพนา ลิงลม, สำเนียง คำมุข. (2561). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 25(1):17-25.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.