การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากโรคหนังเน่า (Necrotizing Fasciitis with septic shock) : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สมควร พิรุณทอง หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคหนังเน่า, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, กรณีศึกษา, การพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากโรคหนังเน่า  ศึกษาที่ ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม และหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 โรงพยาบาลชัยภูมิ  ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2562 ผู้ป่วยชาย อายุ 60 ปี มาด้วยอาการสำคัญคือ ไข้สูง ขาซ้ายบวมแดงมีก้อนเลือด ส่งต่อจากโรงพยาบาลแก้งคร้อ การวินิจฉัยโรค มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากโรคหนังเน่า รับไว้นอนรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 เพื่อแก้ไขภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และเตรียมผ่าตัดเนื้อตายและตกแต่งแผล (Debridement) ขณะรอผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังผ่าตัดย้ายเข้าห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้รับการแก้ไขปัญหาซีด, เกร็ดเลือดต่ำ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะปวด สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้หลังกลับจากห้องผ่าตัด 3 วัน ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี แผลแดงดี หายใจโดยการใส่ออกซิเจนแคนูลา สามารถย้ายกลับหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 ได้

ปัญหาทางการพยาบาลระยะวิกฤติดังนี้ 1) มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด 2) เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สลดลง 3) ปวดเนื่องจากมีแผลที่ขาซ้าย 4) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดสติจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ 5) เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากเนื่องจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ 6) มีภาวะซีดเนื่องจากสูญเสียเลือดและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 7) เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ 8) วิตกกังวลจากการเจ็บป่วย และขาดความรู้ในการปฏิบัติตัว ปัญหาทางการพยาบาลในระยะต่อเนื่อง ดังนี้ 1) ปวดเนื่องจากมีแผลขาซ้าย 2) มีโอกาสติดเชื้อเพิ่มจากมีแผลเปิดที่ขาซ้าย 3) วิตกกังวลจากการเจ็บป่วย และขาดความรู้ในการปฏิบัติตัว    

หลังให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี หายใจได้เอง บางส่วนของแผลที่ขาซ้ายแดงดี ส่งกลับไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแก้งคร้อ เพื่อให้ยาปฏิชีวนะต่อจนครบ 14 วัน นัดติดตาม 1 เดือน และ 2 เดือน ที่ห้องตรวจศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ ติดตามเยี่ยมพบว่าแผลแดงดี  ขนาดแผลที่ขาซ้ายลดลง  ไม่มีไข้  ให้ทำแผลต่อเนื่อง ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่มีนัด

เอกสารอ้างอิง

กีรติ คำทอง, ลัดดา คำแดง, และ ฐิติกานต์ ศิรินาม. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลโรคหนังเน่าในโรงพยาบาลยโสธร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1):254-62.

จรัสศรี ฬียาพรรณ. โรคแบคทีเรียกินเนื้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dst.or.th/Publicly/Articles/1220.23.12 [10 สิงหาคม 2562]

ทยาภัทร บุญเกษม. (2557). โรคติดเชื้อชั้นใต้ผิวหนังลึกถึงระดับพังผืด (Necrotizing Fasciitis). วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 8(1):113-9.

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.healthcarethai.com/ผลกระทบต่อสุขภาพ/ [10 สิงหาคม 2562]

พรศิริ พันธสี. (2557). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ : พิมพ์อักษร.

เพ็ญจันท์ สุวรรณแสงโมไนยพงศ์, [บรรณาธิการ]. (2551). การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล.กรุงเทพฯ : ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และ ชวนพิศ ทำนอง, [บรรณาธิการ]. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต = Critical Care Nursing. ขอนแก่น : สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ สายวิชาพยาบาลศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23