การสำรวจหมู่บ้านแบบเร็วและค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกเพื่อควบคุมโรคเรื้อน อ. บ้านแท่น จ. ชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นิธิมาวดี คำวงศ์ โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • บดินทร์ รินลา โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • อานนท์ เสมียนชัย โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคเรื้อน, การสำรวจหมู่บ้านแบบเร็ว, การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์โรคเรื้อนของอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ พบผู้ป่วยรายใหม่ต่อเนื่อง 3 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึง 2560 และพบผู้ป่วยเด็กอายุ 7 ขวบ 1 ราย จึงถือว่าพื้นที่อำเภอบ้านแท่น ยังเป็นพื้นที่เสี่ยงและยังไม่สามารถควบคุมโรคเรื้อนได้ดี  การลงสำรวจหมู่บ้านแบบเร็ว (Rapid Village Survey) และการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มผู้อาศัยอยู่ใกล้บ้านผู้ป่วยในระยะ 50 เมตร (Active case finding) ในหมู่บ้านวังหิน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยรายล่าสุดจึงต้องทำอย่างเข้มข้นโดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม จากการลงสำรวจหมู่บ้าน พบผู้มีอาการทางผิวหนังมาตรวจร่างกาย 31 ราย มีผู้สงสัย 1 รายเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีผื่นนูนแดง ไม่คัน ไม่เจ็บที่แขนซ้าย สำหรับผู้อาศัยอยู่ในระยะ 50 เมตรจากบ้านผู้ป่วย ไม่พบผู้มีอาการทางผิวหนังที่สงสัยโรคเรื้อน

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. (2016). Global leprosy strategy 2016-2020: accelerating towards a leprosy-free world. New Delhi, World Health Organization. Regional Office for South-East Asia.

World Health Organization. (2017). Global leprosy update, 2016: accelerating reduction of disease burden. Weekly Epidemiological Record (WER), 92(35):501-20.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2558). แนวทางการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active case finding) ในการป้องกันควบคุมวัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส โรคเรื้อน มาลาเรียและโรคพยาธิใบไม้ตับ. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค.

กฤษฎา มโหทาน, เสาวนีย์ บำเพ็ญอยู่, ฉลวย เสร็จกิจ. (2544). คู่มือวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. กรุงเทพฯ : กองโรคเรื้อน กรมควบคุมโรคติดต่อ :9-20.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-24