การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ไพรวัลย์ เกลียวสีนาค กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งกล่องเสียง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง : กรณีศึกษา โดยศึกษาที่หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก (EENT) และห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (SICU) โรงพยาบาลชัยภูมิ เริ่มศึกษาตั้งแต่ 19 เมษายน – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 65 ปี มาด้วยอาการสำคัญคือ เสียงแหบ กลืนลำบาก มีก้อนที่คอโต หายใจลำบาก ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน ส่งมารักษาต่อจากโรงพยาบาลจัตุรัส แพทย์ตรวจ Fiberoptic laryngoscopy พบมีก้อนที่คอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4x3 เซนติเมตร ได้รับการวินิจฉัย Glottic carcinoma with upper airway obstruction รับไว้รักษาวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลชัยภูมิ งดน้ำและอาหาร ให้ 5%D/NSS/2 1000 vein drip 100 cc./hr. เพื่อทำการผ่าตัด Tracheostomy ฉุกเฉิน เนื่องจากมีภาวะหายใจลำบาก มีเสียง stridor ดูแลให้ Oxygen mask with bag 10 ลิตร/นาที Oxygen saturation 98% หลังผ่าตัดแพทย์วินิจฉัย มะเร็งกล่องเสียง วันที่ 23 เมษายน 2561 แพทย์ตรวจ Direct laryngoscopy and Biopsy ผลชิ้นเนื้อพบว่าเป็น laryngeal Cancer ชนิด squamous cell carcinoma involves thyroid gland.ให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจเพื่อเข้ารับการผ่าตัด Total laryngectomy and Right Selective neck dissection level II-IV and Total Thyroidectomy วันที่ 30 เมษายน 2561 ขณะผ่าตัดเสียเลือด 600 C.C. Hct. 28 % ดูแลให้ PRC gr. B210 C.C. vein drip หลังผ่าตัด แพทย์วินิจฉัย มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer stage T3N0M0) ย้ายเข้ารับการรักษาต่อที่ SICU ผู้ป่วยมีแผลที่คอ On shiley tube no 8 และใช้เครื่องช่วยหายใจ สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม  2561 ดูแลให้ออกซิเจน callar mask 10 ลิตร/นาที และย้ายกลับหอผู้ป่วย EENT ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สื่อความหมายรู้เรื่อง หายใจเหนื่อย ดูแลให้ออกซิเจน T-pice 10 ลิตร/นาที ตรวจ Chvostek's test พบ positiveระดับ 2 มีภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ 6.36mg/dl 

ปัญหาทางการพยาบาลดังนี้ 1) มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เนื่องจากมีก้อนที่คอ 2) มีภาวะซีด เนื่องจากเสียเลือดขณะผ่าตัด 3) มีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากตัดต่อมไทรอยด์ 4) ไม่สุขสบาย เนื่องจากปวดแผล 5) เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อ เนื่องจากมีแผลผ่าตัด 6) เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากแบบแผนการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง 7) ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้เรื่องโรค การผ่าตัด รวมทั้งการสื่อความหมายบกพร่องและสูญเสียภาพลักษณ์ 

ให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ ผู้ป่วยสดชื่น On shiley tube no 8 หายใจได้เอง สามารถไอขับเสมหะออกเองได้ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  แพทย์ส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ติดตามเยี่ยมอาการผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ให้การรักษาด้วยรังสีรักษา 60 แสง แล้วส่งกลับมาติดตามอาการที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer).[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/มะเร็งกล่องเสียง/. [11 พ.ค. 2017].

ปารยะ อาศนะเสน. มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) รักษาหายได้ ถ้ามาพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1153. [10 พ.ค. 2017].

เพ็ญจันท์ สุวรรณแสงโมไนยพงศ์. (2551). การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล.กรุงเทพฯ : ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิราวดี จัตุทะศรี. มะเร็งกล่องเสียง สาระน่ารู้โรคมะเร็ง.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

www.bangkokhospital.com/cancer/. [12 พ.ค. 2017].

National Cancer Institute. “Laryngeal cancer”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :www.cancer.gov. [9 พ.ค. 2017].

Yamini Ranchod. Laryngeal cancer [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.medicalnewstoday.com/articles/171568.php [21 February 2019]

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-24