ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการล้างมือของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพนทอง
คำสำคัญ:
การล้างมือ, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการล้างมือของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน โดยกลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 3 แผนก คือแผนกอายุรกรรม จำนวน 9 คน แผนกศัลยกรรม จำนวน 9 คน แผนกกุมารเวชกรรม-นรีเวชกรรม จำนวน 11 คน รวมทั้งสิ้น 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการล้างมือของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน มีระดับการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นพบว่าประเด็นที่มีการปฏิบัติสูงที่สุดคือ การล้างมือภายหลังการสัมผัสเลือดหรือสิ่งที่ขับออกจากร่างกายผู้ป่วย ซึ่งมีการปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น สารคัดหลั่ง เสมหะ อุจจาระ และปัสสาวะของผู้ป่วย เป็นต้น และประเด็นที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุดคือ การถอดเครื่องประดับก่อนการล้างมือ เช่น กำไร แหวน นาฬิกา เป็นต้น ในส่วนของผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการล้างมือของพยาบาลวิชาชีพ พบว่าด้านการรับรู้และความเชื่อต่อการล้างมือ มีอิทธิพลต่อการล้างมือของของพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นประเด็น พบว่าประเด็นที่มีอิทธิพลสูงสุดคือความเชื่อที่ว่าเป็นการทำสิ่งที่ดีเพื่อตนเอง และคนไข้ รวมถึงการที่พยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการล้างมือและใช้เครื่องมือในการล้างมือ ในส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการล้างมือของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่ามี 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อพฤติกรรมการล้างมือได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้และความเชื่อต่อการล้างมือปัจจัยด้านสื่อกระตุ้นการล้างมือ และปัจจัยด้านวัสดุ อุปกรณ์ในการล้างมือ
เอกสารอ้างอิง
Juntaradee M, Yimyaem S, Soparat P, Jariyasethpong T, Danchaivijitr S. (2005). Nosocomial Infection Control in District Hospitals in Northern Thailand. J Med Assoc Thai, 88(10):120-3.
Mayhall CG. (1996). Hospital epidemiology and infection control. Baltimore : Williams & Wilkins.
กรมควบคุมโรค. (2560). แผนงานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี 2560–2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http:// http://plan.ddc.moph.go.th/meeting30_1augsep/meetting30_1/page1.html
คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อ. (2559). การติดเชื้อในโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ha/ha/Document/HABOOM58
Nanmanas Yaembut. (2013). EFFICIENCY OF HAND HYGIENE, RELATED KNOWLEDGE, ATTITUDE, AND BEHAVIOR AMONG UNDERGRADUATE AND POSTGRADUATE DENTAL STUDENTS.Thesis (M.Sc.) Chulalongkorn University.
มณี อาภานันทิกุล, วรรณภา ประไพพานิช, สุปาณี เสนาดิสัย, พิศสมัย อรทัย. (2557). จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลไทยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2):5-20.
สายศิริ ด่านวัฒนะ และคณะ. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
อุทัยทิพย์ อารีภักดิ์. (2553). ความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้ออำนวยและปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการล้างมือในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของบุคลากรพยาบาล ในโรงพยาบาลห้วยคต [วิทยานิพนธ์]. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
ศิริตรี สุทธจิตต์. (2556). มาตรการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 7(2):281-95.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.