การพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมือง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • สราวุฒิ ใฝ่ชำนาญ ฝ่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบฝากครรภ์คุณภาพในสถานบริการ อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกฝากครรภ์ หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิ หัวหน้าหน่วยงานสำคัญโรงพยาบาลเลย หญิงตั้งครรภ์ในเขตอำเภอเมือง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาระบบฝากครรภ์ ใช้แนวคิดการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ดำเนินการตามกระบวนการสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วม และการพัฒนาคุณภาพ ในปี 2559 - 2561 ดำเนินการ 3 ระยะได้แก่  1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริการฝากครรภ์ 3) ประเมินผล  

ผลการศึกษามีดังนี้ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ เดือนตุลาคม 2559 พบประเด็นปัญหาได้แก่ 1) ความต่อเนื่องการบริหารจัดการ 2) ระบบริการและคัดกรองครรภ์เสี่ยง 3) ระบบสารสนเทศ 4) ระบบความ สัมพันธ์สนับสนุนทางวิชาการ 5) ระบบสนับสนุนพัสดุ ยา เวชภัณฑ์ 6) ระบบส่งต่อ 7) ทรัพยากรบุคคล จึงดำเนินการพัฒนาตามประเด็นเหล่านี้ ขั้นตอนพัฒนา 1) ผู้บริหารและทีมงานสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ประเมินตนเองตามมาตรฐานคลินิกฝากครรภ์ 2) ถ่ายทอดนโยบาย วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาร่วมกัน 3) พัฒนาแนวทางปฏิบัติระบบงานฝากครรภ์ปฐมภูมิตามปัญหา 4) ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด 5) ประเมินผล การประเมินผล เดือนตุลาคม 2561 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรอง ดูแลตามเกณฑ์ ลดภาวะ แทรกซ้อน โดยข้อมูลปี 2559-2560 ก่อนการพัฒนาและปี 2561 หลังการพัฒนาได้แก่ การฝากครรภ์ก่อน 12 wks. (เป้าหมาย ≥ร้อยละ 60) ร้อยละ 83.88, 72.25, 85.01 การฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพ(เป้าหมาย ≥60) ร้อยละ 67.49, 50.60, 71.86  หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด (เป้าหมาย≤ ร้อยละ 20) ร้อยละ 15.41, 20.21, 16.54  หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมไอโอดีน/ธาตุเหล็ก (เป้าหมายร้อยละ100) ร้อยละ 67.31, 71.86, 81.25 อัตรา LBW (เกณฑ์ < ร้อยละ7) ร้อยละ 9.26, 7.10, 6.74 อัตราตายปริกำเนิด (เกณฑ์ < 9:1,000 การเกิดมีชีพ) 5.36, 5.58, 3.40 ตามลำดับ มีการทำงานเป็นทีมเครือข่าย ลดแออัด มีระบบสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์เพียงพอ มีความต่อเนื่องในระบบบริการจากโรงพยาบาลสู่หน่วยปฐมภูมิ 

สรุปผลจากการพัฒนางานระบบบริการฝากครรภ์ให้ดำเนินงานตามมาตรฐาน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการสนับสนุนเครื่องมือ พัฒนาระบบให้คำปรึกษาส่งต่อ ส่งผลให้เกิดระบบบริการที่เหมาะสม และสามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์ในเขตจังหวัดเลยต่อไป

เอกสารอ้างอิง

ภิเศก ลุมพิกานนท์ โฉมพิลาศ จงสมชัย. (2555). การดูแลสตรีตั้งครรภ์ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกเพื่อลดการคลอดก่อนกำหนด. http://tmchnetwork.com [ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.]

World Health Organization [WHO]. (2007). Integrated management of pregnancy and childbirth: Standards for maternal and neonatal care. Geneva: World Health Organization.

Tariku A, Melkamu Y, Kebede Z. (2010). Previous utilization of service does not improve timely booking in antenatal care: Cross sectional study on timing of antenatal care booking at public health facilities in Addis Ababa. Ethiopian Journal of Health Development, 24(3):226-33.

กรมอนามัย. (2560). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2560. นนทบุรี : กลุ่มติดตามและประเมินผล กองแผนงาน.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ. (2559). ผลลัพธ์การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยประเทศไทย ปี 2559. www.kmutt.ac.th [ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561]

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. (2560). รายงานสรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ สำนักงานสาธารณจังหวัดเลย.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองเลย. (2561). รายงานสรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองเลย.

พันธุ์ทิพย์ รามสูต. (2540). การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540

ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1 : คู่มือปฏิบัติการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาคน องค์กร ชุมชน สังคม. กรุงเทพฯ : โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

เอื้อมพร ราชภูติ, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, กรรณิการ์ กันธะรักษา. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลระนอง. พยาบาลสาร, 38(3):20-9.

Mufaro K, Melinda K, Neff W. (2017). Quality of antenatal care service provision in health facilities across sub–Saharan Africa: Evidence from nationally representative health facility assessments. J Glob Health, 7(2):1-13.

Ikeanyi EM1, Ibrahim AI. (2015). Does antenatal care attendance prevent anemia in pregnancy at term? Send to Niger J Clin Pract, 18(3):323-7.

Jana K, Sebastian V. (2017). Antenatal care services and its implications for vital and health outcomes of children: evidence from 193 surveys in 69 low-income and middle-income countries. BMJ Open, 7(11):1-7.

ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย, วลัยพร พัชรนฤมล, วีระศักดิ์ พุทธาศรี, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อังคณา สมนัสทวีชัย, ประเทือง เผ่าดิษฐ, ภิเศก ลุมพิกานนท์. (2558). บริการฝากครรภ์ ตอนทีสอง: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการฝากครรภ์ของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(5):885-93.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25