การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

ผู้แต่ง

  • กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์ กลุ่มงานการพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ศันสนีย์ ชัยบุตร กลุ่มงานการพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาล, ผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยแห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย (NHMRC) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ทีมพัฒนาแนวปฏิบัติเป็นพยาบาลตัวแทนจากทุกกลุ่มสาขา จำนวน 18 คน และพยาบาลผู้ปฏิบัติในทุกหอผู้ป่วยซึ่งมีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ จำนวน 60 คน ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหา หลังการปรับปรุงได้นำไปทดลองปฏิบัติ ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน พ.ศ. 2561 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา สรุปได้ว่า แนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โรงพยาบาลชัยภูมิ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนให้สารน้ำ 2) การทำความสะอาดมือและ Aseptic technique 3) การเตรียมผิวหนัง 4) การแทงเข็มให้สารน้ำ 5) การดูแลระหว่างการให้สารน้ำ 6) การเปลี่ยนเข็มและชุดให้สารน้ำ 7) การเปลี่ยน Dressing และ 8) การดูแลหลังให้สารน้ำ การประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ พบว่า แนวปฏิบัติสามารถแก้ปัญหาและเกิดผลดีต่อผู้รับบริการ ความชัดเจนของข้อเสนอแนะในแนวปฏิบัติ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะนำไปใช้ในหน่วยงาน ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.3 เท่ากัน 

ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ควรมีการนำไปใช้ในทุกหน่วยบริการ และควรติดตามประเมินการใช้แนวปฏิบัติเพื่อให้คุณภาพการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Abolfotouh MA, Salam M, Bani-Mustafa A, White D, Balkhy HH. Prospective study of incidence and predictors of peripheral intravenous catheter-induced complications. Therapeutics and Clinical Risk Management 2014; 10:993–1001.

Rickard CM, Webster J, Wallis MC, Marsh N, McGrail MR, French V. et al. Routine versus clinically indicated replacement of peripheral intravenous catheters: a randomized controlled equivalence trial. Lancet 2012; 380(9847):1066–74.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานการเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อประจำปี พ.ศ. 2560. ชัยภูมิ : คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ.

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล 2548; 20(2):63-76.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, ธนพร กาวีวน, อารีย์ กุณนะ, พัชรินทร์ เนตรสว่าง. การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย.พยาบาลสาร 2557; 41(ฉบับพิเศษ):71-8.

Moureau NL, Flynn J. Disinfection of Needleless Connector Hubs: Clinical Evidence Systematic Review. Nursing Research and Practice 2015; ID 796762:20.

National Health and Medical Research Council. [NHMRC]. A guide to the development, Implement and evaluation of clinical practice guidelines. Commonwealth of Australia [Internet]. 1999 [cited 2017 March 15];Available from:https://www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf

พิกุล นันทชัยพันธ์. การประเมินคุณภาพด้านการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางคลินิก: เอกสารประกอบการบรรยายอบรม เรื่อง การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2550.

The Joanna Briggs Institute (JBI). New JBI Levels of Evidence. [Internet].2014 [Cited 2017 February 20]. Available from http://joannabriggs.org/assets/docs/approach/JBI-Levels-of-evidence_2014.pdf

อุสาห์ รุจิระวิโรจน์, ภัทรา นิโครธา, สุกัญญา ตันติประสพลาภ, และกานต์ธิดา ตันวัฒนาถาวร. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2551;14(1):14-27.

O'grady NP, Alexander M, Burns LA, Dellinger EP, Garland J, Heard SO, et al. Guidelines for the prevention of intravascular catheter-related infections. Clinical infectious diseases, 2011;52(9):e162-93.

Lanbeck P, Odenholt I, Paulsen O. Perception of risk factors for infusion phlebitis among Swedish nurses: a questionnaire study. Journal of Infusion Nursing 2004; 27(1):25-30.

Gorski L, Hadaway L, Hagle ME, McGoldrick M, Orr M, Doellman D. Infusion Therapy Standards of Practice. Journal of Infusion Nursing 2016; 39(1s):S1-S159.

กำธร มาลาธรรม, สุสันต์ อาศนะเสน, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2556.

Guerin K, Wagner J, Rains K, Bessesen M. Reduction in central line-associated bloodstream infections by implementation of a post insertion care bundle. American journal of infection control 2010; 38(6):430-3.

Royal College of Nursing (RCN). Infusion therapy standards: Rapid evidence review. London:W1G 0RN 2016. [Cited 2017 February 10]. Available from file:///C:/Users/IC/Downloads/005702.pdf

Van Donk P, Rickard CM, McGrail MR, Doolan G. Routine Replacement versus Clinical Monitoring of Peripheral Intravenous Catheters in a Regional Hospital in the Home Program A Randomized Controlled Trial. Infection Control & Hospital Epidemiology 2009; 30(9): 915-7.

Rickard CM, McCann D, Munnings J, McGrail MR. Routine resite of peripheral intravenous devices every 3 days did not reduce complications compared with clinically indicated resite: a randomised controlled trial. BMC medicine 2010; 8:53.

Rickard CM, Webster J, Wallis MC, Marsh N, McGrail MR, French V, et al. Routine versus clinically indicated replacement of peripheral intravenous catheters: a randomised controlled equivalence trial. The Lancet 2012; 380(9847):1066-74.

Webster J, Osborne S, Rickard C, Hall J. Clinically‐indicated replacement versus routine replacement of peripheral venous catheters (Review). The Cochrane Library 2010;3:1-39.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25