ความถูกต้องของผลการตรวจวินิจฉัยด้วย Alvarado Score เปรียบเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธีทางพยาธิวิทยาในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ลิ่มลิขิต พนัสบดี กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน, Alvarado score, ผลการตรวจวินิจฉัย

บทคัดย่อ

เพื่อศึกษาความถูกต้องของผลการตรวจวินิจฉัยโดยใช้ Alvarado score เปรียบเทียบกับผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธีทางพยาธิวิทยาในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

วิธีการศึกษา การศึกษาแบบ Cross sectional for diagnostic study ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันด้วยการผ่าตัด และส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิ ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2560 มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 319 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่1 ผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม และกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่ส่งต่อจากโรงชุมชนทั้ง 5 แห่ง ตามเกณฑ์คัดเข้าการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคไส้เติ่งอักเสบที่ได้รับการวินิจฉัยด้วย Alvarado Score และผลชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ โดยประเมินความถูกต้องในประเด็นของ sensitivity, specificity, accuracy, false positive rate, false negative rate, positive predictive value, negative predictive value and likelihood ratio (LR). Statistical นัยสำคัญที่ระดับ P <0.05

ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้รับการวินิจโดยใช้ Alvarado score จำนวน 319 ราย ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบจำนวน 296 ราย กลุ่มที่1 จำนวน 133 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ58.65 อายุเฉลี่ย 36.40±19.90 ปี ระยะเวลารอคอยเข้ารับการรักษาเฉลี่ย (ตั้งแต่เริ่มเจ็บป่วยกระทั่งถึงรับไว้เป็นผู้ป่วยใน) 11.5±6.9 ชั่วโมง ระยะเวลารอคอยเข้ารับการผ่าตัดเฉลี่ย 18.0±7.7 ชั่วโมง ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันร้อยละ 91.73 มีไส้ติ่งแตกร้อยละ24.06 กลุ่มที่ 2 จำนวน 186 รายเป็นเพศหญิงร้อยละ54.30 อายุเฉลี่ย 37.40±17.1 ปี ระยะเวลารอคอยการรักษาเฉลี่ย (ตั้งแต่เริ่มเจ็บป่วยกระทั่งถึงรับไว้เป็นผู้ป่วยใน) 8.8±6.9 ชั่วโมง ระยะเวลารอคอยการรักษาเฉลี่ย 18.3±8.2 ชั่วโมง ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันร้อยละ 93.01 มีไส้ติ่งแตกร้อยละ32.37 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผล Alvarado Score และการตรวจชิ้นเนื้อสำหรับการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันร่วมกับไส้ติ่งแตกพบค่า Accuracy 50.34% Sensitivity 26.02% Specificity 67.63% PPV 32.35% NPV 52.34 Positive LR 0.80% Negative LR 1.09% 

สรุป การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันและหรือร่วมกับไส้ติ่งแตกเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐานคือการตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธีทาง pathology พบว่ามีค่า Sensitivity ในระดับต่ำ และ Specificity อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษาควรใช้ Alvarado score ร่วมกับเครื่องมืออื่น

เอกสารอ้างอิง

Ergul E. (2006). Importance of family history and genetics for the prediction of acute appendicitis. Internet J Surg, 10(1).

Schwartz S G, Shires T, Frank C. (1999). Spencer. Principle of Surgery. 7 ed. New York ; McGraw-Hill :1383-94.

Dey S, et al. (2010). Alvarado Scoring in Acute Appendicitis–A Clinicopathological. Correlation. Indian Journal of Surgery, 72(4); 290-3.

Vijay Bhaskar Reddy G,et al. (2013). Role of Alvarado Score in the Diagnosis of Acute Appendicitis. International Journal of Research in Medical Sciences, 1(4);404-8.

Memon A A, et al. (2009). Diagnostic Accuracy of Alvarado Score in The Diagnosis of Acute Appendicitis. Pakistan Journal of Medical Science, 25(1):118-21.

วิริยะ แก้วกังสดาล, และปิยะ เตียวประเสริฐ. (2547). การประเมิน Alvarado Score ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะไส้ติ่งอักเสบฉับพลันเพื่อการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบฉับพลัน. เวชสารแพทย์ทหารบก, 57(2):59-67.

Peterson MC, Holbrook JH, Hales D. (1992). Contribution of history, physical examination, and laboratory investigations in making medical diagnosis. West J Med, 156:163-5.

O'Connel PR. The vermiform appendix. In: Williams NS, Bulstrode CJ, O'Connel PR, editors. (2008). Bailey and Love's Short practice of surgery. 25th ed. London : Arnold :1204-18.

Randen V A, et al. (2008). Acute appendicitis: meta-analysis of diagnostic performance of CT and graded compression US related to prevalence of disease. Radiology, 249(1):97-106.

Santacroce L. (2010). Appendectomy [Internet]. [cited 2011 Jan 1]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/195778overviews.

Kwok My, Kim MK, Gorelick MH. (2004). Evidence based approach to the diagnosis of appendicitis in children. Pediatr Emerg Care, 20(10):690-8.

Doria AS, et al. (2006). US or CT for diagnosis of appendicitis in children and adults? A meta-analysis. Radiology, 241(1):83-94.

Pham VA, Pham HN, Ho TH. (2009). Laparoscopic appendectomy: an efficacious alternative for complicated appendicitis in children. Eur J Pediatr Surg, 19(3):157-9.

Branicki FJ. (2002). Abdominal emergencies: diagnostic and therapeutic laparoscopy. Surg Infect (Larchmt), 3(3):269-82.

Jade R S, et al. (2016). Modified Alvarado Score and its Application in the Diagnosis of Acute Appendicitis. International Journal of Contemporary Medical Research, 3(5) : 1398-400.

Alvarado A. (1986). A practical score for the early diagnosis of acute appendicitis. Ann Emerg Med, 15(5):557-64.

Jalil A, et al. (2011). Alvarado Scoring System in Prediction of Acute Appendicitis. Journal of the Collage of Physicians and Surgeons Pakistan, 21(12):753-5.

Memon ZA, et al. (2013). Acute appendicitis :diagnostic accuracy of Alvarado scoring system. Asian J Surg, 36(4):144-9.

Ahmed AM, Vohra LM, Khaliq T, Lehri AA. (2009). Diagnostic Accuracy of Alvarado Score in the Diagnosis of acute Appendicitis. Pak J Med Sci, 25(1):118-121.

Rastović P, et,al. (2017). Accuracy of Modified Alvarado Score, Eskelinen Score and Ohmann Score in Diagnosing Acute Appendicitis. Psychiatria Danubina, 29(Suppl 2):134-41.

โรงพยาบาลเดชอุดม. (2556). สถิติผู้ป่วยใน กลุ่มบริการทางการแพทย์. อุบลราชธานี; โรงพยาบาลเดชอุดม.

Kevin B. O Relly. (2010). Diagnostic errors : Why they happen. A med news staff.

Kelsey et al. (1981). cross sectional in Epidemiology 2nd Edition, Table 12-15. World Health Organization.

Tamanna Z, et al.(2012). Alvarado score in diagnosis of acute appendicitis. International Journal of Basic and Applied Medical Sciences, 2(1):66-70.

Sammalkorpi HE, et al. (2014). Anew adult appendicitis score improve diagnostic accuracy of acute appendicitis-a prospective study. BMC Gastroenterology, 14:114.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25