การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ลือมงคล โรจกร โรงพยาบาลคอนสวรรค์
  • สุวัฒนา วงษ์ปฏิมาพร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคอนสวรรค์

คำสำคัญ:

โรคหัด, ระบบเฝ้าระวัง, โรงพยาบาลคอนสวรรค์

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคหัดในโรงพยาบาลคอนสวรรค์ เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัดและโรคที่มีอาการใกล้เคียงได้รับการทบทวนในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2559 ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ค่าความไวของการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เท่ากับร้อยละ11.1 แต่ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในเกณฑ์ดี เท่ากับร้อยละ 100 ค่าความถูกต้องของตัวแปรเพศ อายุ ที่อยู่ อยู่ในเกณฑ์ดี เท่ากับร้อยละ 100 และความทันของการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ดี เท่ากับร้อยละ 100 ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า แนวทางในการดำเนินงานของระบบเฝ้าระวังโรคหัดมีความง่าย ความยืดหยุ่น และความยั่งยืน 

ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ระบบเฝ้าระวังโรคหัดของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ยังขาดคุณภาพ ค่าความไวของการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากนิยามในการวินิจฉัยโรคหัดของแพทย์ยังมีความจำเพาะสูง ดังนั้นการชี้แจงเกี่ยวกับนิยามในการวินิจฉัยโรคหัดและแนวทางการเฝ้าระวังโรคแก่แพทย์จึงมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งจะทำให้ค่าความไวของการรายงานโรคเพื่อตรวจจับโรคเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคหัด (Measles) [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 15 มกราคม 2560]. จาก http ://thaigcd.ddc.moph. go.th/

/knowledges/view/28.

ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, พรทิพย์ จอมพุก, เลิศฤทธิ์ ลีลาธร, บรรณาธิการ. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค การตรวจรักษาและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการการกำจัดโรคหัดตามพันสัญญานานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

ศูนย์ระบาดวิทยา สำนักสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. รายงานสถานการณ์โรคหัด ปี 2559 [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2560.

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. [ม.ป.ท.:ม.ป.พ.]; 2546.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25