ระดับ Adenosine Deaminase และลักษณะผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อรรถวุฒิ เพชรสุริยวงศ์ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

adenosine deaminase, tuberculous pleural effusion, lymphocytic-predominant

บทคัดย่อ

การวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดยังคงเป็นเรื่องท้าทายในเวชปฏิบัติปัจจุบันเนื่องจากผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดและโรคเยื่อหุ้มปอดจากสาเหตุอื่นมีลักษณะทางคลินิกคล้ายกันและมีผลการวิเคราะห์น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดเป็นแบบ lymphocytic-predominant exudative เช่นเดียวกัน การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาความแม่นยำในการใช้ระดับ Adenosine deaminase (ADA) จากการตรวจน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดในผู้ป่วยที่มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดเป็น lymphocytic-predominant exudative 

การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเปรียบเทียบผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดจำนวน 63 รายและผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มปอดจากสาเหตุอื่น 63 รายที่รับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 พบว่าผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดเป็นเพศชายจำนวน 47 ราย (56%) อายุเฉลี่ย (± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 53.1 (± 17.2) ปีและระยะเวลาแสดงอาการเฉลี่ย (± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 15.1 (±16.5) วัน ผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดมีอาการไข้ร่วมกับผลการวิเคราะห์น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดมีระดับโปรตีนและเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูงกว่าผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มปอดชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ย (± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของระดับ ADA จากการวิเคราะห์น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดของผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดเท่ากับ 48.3 (± 12.7) U/L ซึ่งสูงกว่าผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มปอดจากสาเหตุอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จุดตัดค่าระดับ ADA จากการวิเคราะห์น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่เหมาะสมจากการประเมิน receiver operating characteristic (ROC) curve สำหรับการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดเท่ากับ 32.7 U/L ที่จุดตัดนี้มีความไวในการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดเท่ากับ 95.24% มีความจำเพาะในการวินิจฉัย 95.24% และมีค่า positive และ negative likelihood ratios เท่ากับ 20 และ 0.05 ตามลำดับ 

สรุปค่าระดับ ADA จากการวิเคราะห์น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดสำหรับการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดในโรงพยาบาลชัยภูมิเท่ากับ 32.7 U/L

เอกสารอ้างอิง

Light RW. (2010). Update on tuberculosis pleural effusion. Respirology, 15(3):451-8.

Reechaipichitkul W, Lulitanond V, Patjanasoontorn B, Kawamatawong T. (1999). Diagnostic role of pleural biopsy as compared to high volume pleural fluid study in tuberculous pleural effusion. Thai J Tuberc Chest Dis, 20(3):145-50.

Liang QL, Shi HZ, Wang K, Qin SM, Qin XJ. (2008). Diagnostic accuracy of adenosine deaminase in tuberculous pleurisy: meta-analysis. Respir Med, 102(5):744-54.

Reechaipichitkil W, Kawamatawong T, Teerajetgul Y, Patjanasoontorn B. (2001). Diagnostic role of pleural fluid adenosine deaminase in tuberculous pleural effusion. Southeast Asian J Trop Med Pubic Health, 32(2):383-9.

Kheawon N, Anantrasertkul T, Pinyosmosorn W, Wiwatworapan T. (2008). Adenosine Diaminase activity level in exudative lymphocytic predominated pleural effusion in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Nakhon Ratch Med Bull, 32:95-100.

Ibrahim WH, Ghadban W, Khinji A, Yasin R, Soub H, Al-Khal AL et al. (2005). Does pleural tuberculosis disease pattern differ among developed and developing countries. Respir Med, 99(8):1038-45.

World Health Organization. (2016). Global tuberculosis report 2016. WHO/HTM/TB/2016.13.Geneva: World Health Organization.

Levine H, Szanto PB, Cugell DW. (1968). Tuberculous pleurisy: an acute illness. Arch Intern Med, 122(4):329–32.

Moudgil H, Sridhar G, Leitch AG. (1994). Reactivation disease: the commonest form of tuberculous pleural effusion in Edinburgh,1980–1991. Respir. Med, 88(4):301–4.

Berger HW, Mejia E. (1973). Tuberculous pleurisy. Chest, 63(1):88–92.

Saiphoklang N, Kanitsap A, Nambunchu A. (2015)Differences in clinical manifestations and pleural fluid characteristics between tuberculous and malignant pleural effusions. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 46(3):496-503.

Valdes L, Alvarez D, San Jose E, Penela P, Valle JM, García-Pazos JM, et al. (1998). Tuberculous pleurisy: a study of 254 patients. Arch Intern Med, 158(18):2017–21.

Light RW. (2007). Pleural Diseases, 5th ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.

Yousang L, Changhwan K, Boksoon C, Suh-Young L, So P Y, Eun-Kyung M, et al. (2017). Loculated tuberculous pleural effusion: easily identifiable and clinically useful predictor of positive mycobacterial culture from pleural fluid. Tuberc Respir Dis (Seoul), 80(1):35–44.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26