อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพแบบกดหน้าอกปกติ และการใช้เครื่องช่วยกดหน้าอกอัตโนมัติ ในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลปากช่องนานา
คำสำคัญ:
ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, การช่วยฟื้นคืนชีพ, เครื่องช่วยกดหน้าอกอัตโนมัติบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพแบบการใช้เครื่องช่วยกดหน้าอกอัตโนมัติและการกดหน้าอกปกติในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลภายใน 60 นาที และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลปากช่องนานา
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นภายใน 60 นาที นอกโรงพยาบาลปากช่องนานาตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test, Mann-Whitney U test, Chi-square test, Fisher’s exact test และ logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย: จากการศึกษามีผู้ป่วยจำนวน 103 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยฟื้นคืนชีพโดยใช้เครื่องช่วยกดหน้าอกอัตโนมัติจำนวน 51 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพแบบกดหน้าอกปกติจำนวน 52 คน พบว่าอัตราการการรอดชีวิตจนถึงโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกดหน้าอกอัตโนมัติคิดเป็น ร้อยละ 19.6 (10/51คน) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยฟื้นคืนชีพแบบกดหน้าอกปกติมีอัตราการรอดชีวิตคิดเป็น ร้อยละ 23.1 (12/51คน) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (19.6% และ 23.1%, p-value=1.000) และพบว่าการใส่ท่อช่วยหายใจมีความสัมพันธ์กับการรอดชีวิตในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่กลุ่มผู้ป่วยที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจมีโอกาสที่จะรอดชีวิตมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ 3.89 เท่า (Adjusted OR=3.89, 95%CI: 1.21–12.52, p-value=0.023)
สรุป: การช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล โดยการกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้อง และรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการจัดการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และการจัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำเพื่อพัฒนาศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นแก่ทีมกู้ภัยในอำเภอ รวมถึงการสอนการใช้เครื่องช่วยกดหน้าอกอัตโนมัติให้มีความชำนาญเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ที่จำกัดแก่หน่วยการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับของโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล
เอกสารอ้างอิง
Bernhard M, Behrens NH, Wnent J, Seewald S, Brenner S, Jantzen T, et al. Out-of-hospital airway management during manual compression or automated chest compression devices:A registry-based analysis. Anaesthesist, 2018;67(2):109-17.
Engdahl J, Holmberg M, Kalson BW, et al. The epidemiology of out-of-hospital ‘sudden’ cardiac arrest. Resuscitation, 2002;52(3):235-45.
Amnuaypattanapon K, Udomsubpayakul U. Evaluation of related factors and outcome in cardiac arrest resuscitation at Thammasat Emergency Department. J Med Assoc Thai, 2010;93(Suppl 7):S26-34.
จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกรพ.และได้รับการรักษาผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉินของรพ. ปากช่องนานาปีงบประมาณ 2560-2562. วันที่ 1 ตุลาคม 2560–30 กันยายน 2562. ฐานข้อมูลโรงพยาบาลปากช่องนานา.
Perkins GD, Travers AH, Berg RA, Castren M, Considine J, Escalante R, et al. Part 3: Adult basic life support and automated external defibrillation: 2015 International Consensus on Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care Science with Treatment Recommendations. Resuscitation, 2015;95:e43–69.
Soar J, Callaway CW, Aibiki M, Böttiger BW, Brooks SC, Deakin CD, et al. Part 4: Advanced life support: 2015 International Consensus on Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care Science with Treatment Recommendations. Resuscitation, 2015;95:e71-120.
Cave DM, Gazmuri RJ, Otto CW, Nadkarni VM, Cheng A, Brooks SC. et al. Part 7: CPR Techniques and Devices: 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care, 2010;18(suppl 3):S720-8.
ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร, 2564;13(1):43-57.
Soholm H, Hassager C, Lippert F, Jensen M, Thomsen J, Friberg H, et al. Factors associated with successful resuscitation after out-of-hospital cardiac arrest and temporal trends in survival and comorbidity. Ann Emerg Med, 2015;65(5):523-31.
Hansen M, Schmicker R, Newgard C, Grunau B, Scheuermeyer F, Cheskes S, et al. Time to epinephrine administration and survival from non shockable out of hospital cardiac arrest among children and adult. Circulation, 2018;137(11):1161-8.
Nongchang P, Laohasiriwong W, Pitaksanurat S. Boonsirikamchai P. (2017). Intravenous fluid administration and the survival of pre hospital resuscitated out of hospital cardiac arrest patients in Thailand. J Clin Diagn Res, 2017;11(9):OC29-32.
Hallstrom A, Rea TD, Sayre MR, Christenson J, Anton AR, Mosesso Jr VN, et al. Manual chest compression vs use of an automated chest compression device during resuscitation following out-of-hospital cardiac arrest: a randomized trial. JAMA, 2006;295(22):2620-8.
White L, Melhuish T, Holyoak R, Ryan T, Kempton H, Vlok R. Advanced airway management in out of hospital cardiac arrest: A systematic review and meta-analysis. Am J Emerg Med, 2018;36(12):2298-306.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.