ความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน ต่อการพยากรณ์ผลการรักษา ณ โรงพยาบาลชุมแพ

ผู้แต่ง

  • ภัทรีพันธุ์ ฦาชา กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การคัดแยกผู้ป่วย, ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน, ผลการรักษา

บทคัดย่อ

บทนำ : การคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินเป็นการคัดแยกผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานและถูกใช้อย่างแพร่หลาย แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความถูกต้องของการคัดแยก ซึ่งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ทำการคัดแยก ทำให้เกิดการคัดแยกที่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน โดยหาความสอดคล้องกันในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาล/นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และหาความสอดคล้องกันในการคัดแยกผู้ป่วยต่อผลการรักษา

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมแพ ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564 จำนวน 240 คน ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ร้อยละ, ค่ามัธยฐาน, ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และนำข้อมูลการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาล/นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินมาหาค่าความสอดคล้องกัน โดยใช้ค่าสถิติ Kappa weight index (K)

ผลการศึกษา : มีความสอดคล้องกันในการคัดแยกผู้ป่วยระหว่างพยาบาล/นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินอยู่ในระดับปานกลาง (Kappa 0.552, Agreement 62.1%, p-value < .001) และมีความสอดคล้องกันในการคัดแยกผู้ป่วยต่อผลการรักษา โดยสอดคล้องกันอยู่ในระดับปานกลางต่อการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องฉุกเฉิน ที่ Kappa 0.503 และ 0.430 ตามลำดับ และสอดคล้องกันอยู่ในระดับดีต่อการส่งตัวไปรักษาต่อโรงพยาบาลอื่น ที่ Kappa 0.769

สรุป : พยาบาล/นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์สามารถคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องระดับปานกลาง และมีความสอดคล้องกันกับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินระดับปานกลาง ถึงดีต่อผลการรักษา

เอกสารอ้างอิง

Daemi A. The role of electronic triage system in management of hospital emergency department. Bull Emerg Trauma, 2016;4(1):62–3.

Hinson JS, Martinez DA, Schmitz PSK, Toerper M, Radu D, Scheulen J, et al. Accuracy of emergency department triage using the Emergency Severity Index and independent predictors of under-triage and over-triage in Brazil: a retrospective cohort analysis. Int J Emerg Med, 2018;11(1):3.

Pourasghar F, Daemi A, Tabrizi JS, Ala A. Inter-rater reliability of triages performed by the electronic triage system. Bull Emerg Trauma, 2015;3(4):134–7.

Pourasghar F, Tabrizi JS, Ala A, Daemi A. Validity of the electronic triage system in predicting patient outcomes in Tabriz, Iran: a cross-sectional study. Bull Emerg Trauma, 2016;4(4):211–5.

Bazm A, Khorasani E, Etemadi M, Nadeali H. Improving five-level triage form according to the experts viewpoint; a qualitative study. Bull Emerg Trauma, 2015;3(1):16–21.

Ghafarypour-Jahrom M, Taghizadeh M, Heidari K, Derakhshanfar H. Validity and reliability of the emergency severity index and Australasian triage system in pediatric emergency care of Mofid Children's Hospital in Iran. Bull Emerg Trauma, 2018;6(4):329–33.

McHugh M, Tanabe P, McClelland M, Khare RK. More patients are triaged using the emergency severity index than any other triage acuity system in The United States. Acad Emerg Med, 2012;19(1):106-9.

Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. DtschArztebl Int, 2010;107(50):892–8.

รัฐพงษ์ บุรีวงษ์, บรรณาธิการ. MOPH ED. Triage. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2561.

Mohamad AB, Nurakmal B. Guidelines of the minimum sample size requirements for Cohen’s Kappa. Epideniology biostatistics and public health, 2017;14(2):12267-10

The jamovi project (2022). jamovi. (Version 2.3) [Computer Software]. Retrieved from https://www.jamovi.org.

R Core Team (2021). R: A Language and environment for statistical computing. (Version 4.1) [Computer software]. Retrieved from https://cran.r-project.org. (R packages retrieved from MRAN snapshot 2022-01-01).

Matthias Gamer, Jim Lemon, Ian Fellows, Puspendra Singh (2019). Various Coefficients of Interrater Reliability and Agreement. [R package]. Retrieved from https://CRAN.R-project.org/package=irr.

Buschhorn HM, Strout TD, Sholl JM, Baumann MR. Emergency medical service triage using the emergency severiry index: is it reliable and valid?. J EmergNurs, 2013;39(5):e55-63

Ganjali R, Golmakani R, Ebrahimi M, Eslami S, Bolvardi E. Accuracy of the Emergency Department Triage System using the Emergency Severity Index for Predicting Patient Outcome; A Single Center Experience. Bull Emerg Trauma, 2020;8(2):115-120.

ศิริพงษ์ เศรษฐชาญวิทย์. ความสอดคล้องกันระหว่างแพทย์และพยาบาลฉุกเฉินในการคัดแยกผู้ป่วยตามระบบ Emergency severity index(ESI). รายงานการวิจัยทางคลินิก ส่วนหนึ่งของการศึกษาและฝึกอบรมตามหลักสูตรเพื่อวุฒิบัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินของแพทยสภา. โรงพยาบาลชลบุรี. 2562.

Dehnadi MA, Yousefzadeh S, Hemati H, Shaabani S. Comparison the number of the triaged patients in three working shift in poursina hospital in rasht. J Guil Uni Med Sci, 2008;17(65):68-76

Rashid K, Ullah M, Ahmed S T, Sajid M Z, Hayat M A, Nawaz B, Abbas K. Accuracy of emergency room triage using emergency severity index (ESI): independent predictor of under and over triage. Cureus, 2021;13(12): e20229.

Wurez RC, Milne LW, Eitel DR, Travers D, Gilboy N. Reliability and validity of a new five-level triage instrument. Acad Emerg Med, 2000; 7(3):236-42.

T Tanabe P, Gimbel R, Yarnold PR, Kyriacou DN, Adams JG. Reliability and validity of scores on the emergency severity index version 3. Academic emergency medicine, 2004;11(1):59-65

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17