ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ โศภิษฐิกุล โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ความสัมพันธ์, ผลสำเร็จ, ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, โรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุโดยเฉพาะในเพศหญิง องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี 2020 จะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อประมาณ 570 ล้านคน ประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคข้อเสื่อมเท่ากับ 57.10 ต่อประชากรแสนคนและพบในเพศหญิงประมาณ 4 เท่า การรักษาสุดท้ายคือผู้ป่วยต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลเทพรัตน์ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง30 กันยายน 2564 จำนวน 41 คน เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ข้อมูลทั่วไปและการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน สัดส่วน ร้อยละและค่าเฉลี่ย และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จโดยใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยวิธีทดสอบ Fisher’s Exact Test

ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 41 คน เพศหญิง 34 คน (ร้อยละ 83) เพศชาย 7 คน (ร้อยละ17) สัดส่วนชาย:หญิง 1:4.8  อายุเฉลี่ย 64 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 62.5 กิโลกรัม โรคร่วม 2 อันดับมากที่สุดได้แก่ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 11 ราย (ร้อยละ 26.8) ความดันโลหิตสูงจำนวน 10 ราย (ร้อยละ24.4) จากการติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัด 1 และ 6 เดือน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่ งอเข่าได้ >90◦ สามารถเดินออกจากบ้านได้เองและเดินได้ไม่มีอาการปวดเลย พบว่า เพศ อายุ น้ำหนัก มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ส่วนโรคร่วม (ความดันโลหิตสูง, เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p-value >0.05)

สรุปผลการวิจัย: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนโรคร่วมไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จการผ่าตัดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

เอกสารอ้างอิง

สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ณัฐสิทธิ์ สองเมือง, วนิดา สุขรัตน์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2563;7(1):227-39.

จันทร์จิรา เกิดวัน, จิราภรณ์ บุญอินทร์, ชุติมา ธีระสมบัติ, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. การสำรวจความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน .วารสารกายภาพบำบัด, 2559;38(2):59-70.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์, 2560.

รักสกุลชัย ทองจันทร์, กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, ธนากร ธนวัฒน์. ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 2564;7(2):118 -35.

ทาริกา บุญประกอบ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์นาวี, 2562;46(2):355-73.

ดารารัตน์ นวมทอง, วรรณภา ลีพิทักษ์วัฒนา, อินทร์ธีรา พัฒน์ปรียากุล. การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้งานข้อเข่าระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบริหารข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 2562;2(1):64-84.

Hammerich K, Pollack J, Hasse AF, Saman AE, Huber R, Rupp M, et al. The Inverse Spacer-A Novel, Safe, and Cost-Effective Approach in Routine Procedures for Revision Knee Arthroplasty. J Clin Med, 2021;10(5):971.

Ahmed SM, Mstaf RJ. A Comprehensive Survey on Bone Segmentation Techniques in Knee Osteoarthritis Research: From Conventional Methods to Deep Learning. Diagnostics (Basel), 2022;12(3):611.

Mezey GA, Máté Z, Paulik E. Factors Influencing Pain Management of Patients with Osteoarthritis: A Cross-Sectional Study. J Clin Med, 2022;11(5):1352.

Giuntoli M, Scaglione M, Bonicoli E, Piolanti N, Puccioni G, Zepeda K, et al. Intraoperative Load Sensing in Total Knee Arthroplasty Leads to a Functional but Not Clinical Difference: A Comparative, Gait Analysis Evaluatio. J Funct Morphol Kinesiol, 2022;7(1):23.

Primorac D, Molnar V, Rod E, Jeleč Ž, Čukelj F, Matišić V, et al. Knee Osteoarthritis: A Review of Pathogenesis and State-Of-The-Art Non-Operative Therapeutic Considerations. Genes (Basel), 2020;11(8):854.

Jacobs H, Hoffmann F, Lazovic D, Maus U, Seeber GH. Use of Physiotherapy Prior to Total Knee Arthroplasty—Results of the Prospective FInGK Study. Healthcare (Basel), 2022;10(2):407.

Lapanachokdee W, Lawthong N, Piyapimonsit C. Critiques on Thai Educational Research Methodology. Asian Social Science, 2016;12(3):93-111.

Jacobs H, Hoffmann F, Lazovic D, Maus U, Seeber GH. Use of Physiotherapy Prior to Total Knee Arthroplasty-Results of the Prospective FInGK Study. Healthcare (Basel), 2022;10(2):407.

สุทธิวรรณ เชวงเกียรติกุล, สุภาพ อารีเอื้อ, พิชญ์ประอร ยังเจริญ, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. ความคาดหวังในผลลัพธ์หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 2562:11(2);361-73.

วัชรี วรากุลนุเคราะห์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, วิลาวัณย์ อาชวกุลเทพ และลักษณา บุญประคอง. ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. Journal of Nursing Science, 2554;29(3):74-82.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17