การประเมินการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของโรงพยาบาลซับใหญ่
คำสำคัญ:
การประเมินการดำเนินงาน, ยาที่มีความเสี่ยงสูง, แนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงบทคัดย่อ
บทนำ : การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูงเป็นนโยบายความปลอดภัยด้านยาที่สำคัญที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศและสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของประเทศไทยกำหนดเป็นเกณฑ์สำคัญในการรับรองคุณภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงและศึกษาปัญหาจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง ในผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลซับใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 ที่ได้รับการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลออกมาเป็นความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัย: จากการสั่งใช้ยาที่มีความ เสี่ยงสูง 82 ครั้ง จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 82 ราย เพศชายร้อยละ 60.98 อายุเฉลี่ย 56.34 ปี (±18.21) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 58.54) สภาพของผู้ป่วยขณะจำหน่ายส่วนใหญ่อาการดีขึ้น (ร้อยละ 82.93) ยาที่สั่งใช้มากที่สุดคือ Potassium Chloride injection ร้อยละ 52.44 รองลงมาคือ Amiodarone injection ร้อยละ 13.41 และ Adenosine injection ร้อยละ 12.19 การปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในขั้นตอนการสั่งใช้ยา การถ่ายทอดคำสั่ง การจ่ายยา และการบริหารยา มีค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 66.67, 96.34, 96.34 และ 49.39 ตามลำดับ โดยพบว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอนที่มีการปฏิบัติตามแนวทางน้อยกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ การตรวจสอบยาโดยพยาบาล อย่างน้อย 2 คน ก่อนการบริหารยา (ร้อยละ 73.17) การสั่งติดตามพารามิเตอร์ (ร้อยละ 54.88) คำสั่งใช้ยาเป็นไปตามมาตรฐานนโยบายด้านยา (ร้อยละ 47.56) การติดใบ drug tips หน้าแฟ้มผู้ป่วย การแนบแบบบันทึกติดตามการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในแฟ้มผู้ป่วยและลงบันทึกติดตาม การแขวนป้าย HAD ที่เสาน้ำเกลือ กรณีการให้ยาแบบหยดเข้าทางหลอดเลือด (ร้อยละ 41.46) พบปัญหาที่เกี่ยวกับยาโดยเป็นปัญหาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในระดับ probable ร้อยละ 3.66 จาก Amiodarone injection ร้อยละ 2.44 จาก Nicardipine injection และ ร้อยละ 1.22 จาก Dopamine injection
สรุปผลการวิจัย: การดำเนินการในขั้นตอน การถ่ายทอดคำสั่ง และการจ่ายยาเป็นไปตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุด แต่ในขั้นตอนการสั่งใช้ยา และขั้นตอนการบริหารยามีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดน้อยลงตามลำดับ จึงควรมีมาตรการหรือการสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นก่อนถึงตัวผู้ป่วย
เอกสารอ้างอิง
เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561 (Patient Safety Goal: SIMPLE Thailand 2018). นนทบุรี : สถาบันฯ, 2561.
อภิฤดี เหมะจุฑา. ความปลอดภัยในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์, 2560:1-20.
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล. กรอบงานพื้นฐานระบบยา. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), 2563.
มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. นนทบุรี : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน), 2564.
วิมลรักษ์ เรืองวัฒนาโชค, หนึ่งฤทัย สุกใส, เชิดชัย สุนทรภาส. การประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของแผนกผู้ป่วยใน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนแห่ง หนึ่งในภาคกลาง. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน, 2561;14(4):18-28 .
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.