ผลการทดลองใช้โปรแกรมให้ความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
บทคัดย่อ
บทนำ : การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปได้ เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า หากมีการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอนจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจต่อตัวผู้สูงอายุ และครอบครัว
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมให้ความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 30 ราย ที่รับการรักษา ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่โปรแกรมให้ความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมี 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสันทนาการ 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับยาที่มีผลทำให้พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากยา ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและนำไปทดลองใช้หาค่าคะแนนความสอดคล้องหรือดัชนีของความสอดคล้องกันระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับจุดประสงค์ ( IOC ) เท่ากับ 0.94 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 ถึง มิถุนายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.3 ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 60-69 ปี คิดเป็น ร้อยละ 60 สถานภาพสมรสอยู่เป็นคู่ การศึกษาระดับประถมศึกษา มีโรคประจำตัวมากกว่า 2 โรค มีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้น 1.67±0.05 คะแนน มีความรู้เกี่ยวกับยาที่มีผลทำให้พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้น 1.90±0.50 คะแนน และมีความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากยาคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้น 2.16±1.07 คะแนน ซึ่งคะแนนรวมเฉลี่ยทั้ง 3 ด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<0.01)
สรุป: ผู้สูงอายุมีค่าคะแนนความรู้เฉลี่ยทั้ง 3 ด้านเพิ่มขึ้นหลังการใช้โปรแกรมให้ความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มจากการใช้ยา
เอกสารอ้างอิง
United Nations Population Fund. Ageing in the twenty-first century: A celebration and a challenge. New York: Author, 2012.
อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัย…ความท้าทายประเทศไทย, เข้าถึงได้จากhttp://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2017/12/สังคมสูงวัย3.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564]
United Nation. World populations ageing 2015. New York: Author, 2015.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=38670. [เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564].
กระทรวง สาธารณสุข. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย 2560 - 2564. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข, 2564.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2559.
อัจฉรา สาระพันธ, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคาม, สมบัติ อ่อนศิริ, บุญเลิศ อุทยานิก, สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 2560;18(ฉบับพิเศษ 1):215-22.
สุธาร จันทะวงศ์. แนวทางการลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาจากใช้ยาหลายรายการในผู้สูงอาย. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์, 2562.
American Geriatrics Society Beers Criteria Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2019 Update AGS Beers Criteria for potentially inappropriate medication use in older adults. J Am Geriatr Soc. 67:674–94.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์. บทความปริทัศน์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 2559;5(2):119-29.
Hair JF, Anderson RE, Tatham RL, Black WC. Multivariate data analysis. 6 ed. New Jersey: Pearson Education International, 2006
UNICEF, Faculty of Nursing Chiang Mai University. Communication for delveopment (C4D). Bankok; UNICEF, 2006.
ภาวดี วิมลพันธุ์, ขนิษฐา ขนิษฐา. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2557;23(3):98-109.
กาญจนา พิบูลย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผล ของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2560;35(3):186-95.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.