การเปรียบเทียบผลลัพธ์การผ่าตัดคนไข้เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูงด้วยวิธีส่องกล้อง กับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ ทุมเสน กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การผ่าตัดคนไข้เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง, การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเอนโดสโคป, การผ่าตัดด้วยวิธีการเปิดกะโหลกศีรษะ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไขมันในหลอดเลือดสมองได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งการรักษาหลักคือการผ่าตัดการเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อระบายเลือดออกภายในสมอง ลดความดันในกะโหลกศีรษะ ช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตของผู้ป่วย ในปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดรูปแบบใหม่แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายคือการนำกล้องเอนโดสโคปมาใช้ในการผ่าตัดเพราะว่ามีมุมมองการมองเห็นที่ชัดเจนมากกว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้การผ่าตัดมีแผลขนาดเล็กลง ปริมาณการสูญเสียเลือดลดลง ใช้เวลาในการผ่าตัดลดลง ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาในการรักษาในโรงพยาบาลลดลงอีกด้วย

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเอนโดสโคป 2) เพื่อศึกษาถึงผลดีผลเสียเปรียบเทียบการผ่าตัด 2 รูปแบบ 3) เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาคนไข้เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง

วิธีดำเนินการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพรรณนาย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยย้อนหลังด้วยโรคเลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565  โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบผ่าตัดส่องกล้องและกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ประวัติการผ่าตัด รวมทั้งประวัติหลังผ่าตัดมาวิเคราะห์จำนวน  42 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้องจำนวน 11 ราย และการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะจำนวน 31 ราย

ผลการวิจัย: จากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องสามารถระบายเลือดออกเฉลี่ย ร้อยละ 89 อัตราการสูญเสียเลือดน้อยกว่าเฉลี่ย 122.72 มิลลิลิตร ระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัดน้อยกว่าเฉลี่ย 66.81 นาที ไม่พบอัตราการเกิดเลือดออกซ้ำ ไม่พบภาวะแทรกซ้อน จากการศึกษาย้อนหลังจะเห็นได้ว่าการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเอนโดสโคปสามารถระบายเลือดออกได้ดี อัตราการสูญเสียเลือดระหว่างผ่าตัด คะแนนระดับความรู้สึกตัว รวมทั้งระยะเวลาที่ในการผ่าตัดดีกว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ

สรุปผล: การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเอนโดสโคปให้ผลที่ดีกว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะในด้านการเพิ่มอัตราการระบายเลือดออกจากสมอง ลดระยะเวลาการผ่าตัด ลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด และคะแนนระดับความรู้สึกตัวที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยเชิงสถิติ

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ. ชุดข้อมูลอัตราป่วยตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองแตกสิทธิ UC ของโรงพยาบาลที่ให้บริการ ปี 2560-2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: Retrieved from https://data.go.th/: https://data.go.th/dataset/dataset-pp_38_07 [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2564].

Greenberg SM, Ziai WC, Cordonnier C, Dowlatshahi D, Francis B, Goldstein JN, et al. 2022 Guideline for the Management of Patients with Spontaneous Intracerebral Hemorrhage: A Guideline from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke, 2022;53(7):e282-361.

Sheth KN. Spontaneous Intracerebral Hemorrhage. N Engl J Med, 2022;387:1589-96.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.niems.go.th: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414529_20220111124457.pdf [11 มกราคม 2565].

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันวันอัมพาตโลก ปี 2564 ให้ประชาชน “รู้สัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21374&deptcode=brc [28 ตุลาคม 2564].

Zhou H, Zhang Y, Liu L, Han X, Tao Y, Tang Y, et al. (2011, June 23). A prospective controlled study: minimally invasive stereotactic puncture therapy versus conventional craniotomy in the treatment of acute intracerebral hemorrhage. BMC Neurol, 2011;11:76.

Sun G, Li X, Chen X, Zhang Y, Xu Z. Comparison of keyhole endoscopy and craniotomy for the treatment of patients with hypertensive cerebral hemorrhage. Medicine (Baltimore), 2019;98(2):e14123.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — อัปเดตเมื่อ 2022-12-30

เวอร์ชัน