การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สิรภัทร วัดกิ่ง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

กระดูกต้นขาหัก, ผู้สูงอายุ, การรักษาโดยการผ่าตัด

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะกระดูกต้นขาหักเป็นการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน พบมากในผู้สูงอายุสาเหตุเกิดจากการพลัดตกหกล้ม ถึงแม้กลไกการบาดเจ็บไม่รุนแรง อาจส่งผลให้เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้เกิดพยาธิสภาพแบบถาวรเกิดความพิการ และเสียชีวิตได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการให้การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

วิธีดำเนินการศึกษา: เลือกเรื่องที่สนใจศึกษา ศึกษาเอกสารตำราวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลเวชระเบียบผู้ป่วย และเลือกกรณีศึกษาที่สนใจ 2 ราย มีเพศ อายุ และโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบ ศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผู้ป่วยทั้งสองราย โดยศึกษาจากเวชระเบียน ลงเยี่ยมบ้าน และติดตามผลการรักษา

ผลการศึกษา: การเกิดกระดูกต้นขาหักในผู้สูงอายุเกิดได้จากการพลัดตกหกล้ม และอุบัติเหตุจราจร เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ การรักษาพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายทั้งแบบผ่าตัด และไม่ผ่าตัด สำหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นการรักษาแบบผ่าตัดทั้งสองราย รายที่ 1 ผ่าตัดแบบใส่เหล็กดามมีแผลผ่าตัดเล็กกว่า มีการรับรู้ปกติ ช่วยเหลือตัวเองได้ ผลการรักษาดี สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ รายที่ 2 ผ่าตัดเปลี่ยนเบ้าสะโพก และคอสะโพกใหม่หมดทำให้แผลมีขนาดใหญ่กว่า สัมพันธ์กับมีอายุมาก มีโรคประจำตัวหลายชนิด ผู้ป่วยอยู่ในภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หลังการผ่าตัดจึงต้องการการดูแลจากบุคคลอื่นทั้งหมดส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือนอนติดเตียง เกิดแผลกดทับ และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จะเห็นว่าจากปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วยทั้งสองกรณีที่แตกต่างกันทำให้ผลการรักษาแตกต่างกัน ถึงแม้นจะใช้ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาลไปในแนวทางเดียวกัน

สรุปผล: การนำทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเร็มมาใช้วางแผนการพยาบาลร่วมกับการให้คำแนะนำก่อนการผ่าตัด ส่งผลให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ และไม่พบภาวะแทรกซ้อน

เอกสารอ้างอิง

April Reynolds. The Fracture Femur. Rodiologic Technology. 2013;84(1):273-91.

Harty JA, MCKena P, Molony D, Souza LD, Masterson E. nti-platelet agents and surgical delay in elderly patients with hip fractures. J Orthop Surg (Hong Kong). 2007;15(3):270-2.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย วันที่ 31 ธันวาคม 2562. [ออนไลน์]. 2562.เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275. [สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2565].

ยศ เขียวอมร. อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอัตราตายปีแรกของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก ที่ผ่าตัดในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2564;40(1):439-48.

ปริญญา ปริญญาณัฏฐ์, บุรภัทร สังข์ทอง. เรื่อง Pelvic exanguination. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.http://medinfo2.psu.ac.th. [สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2565].

วัชระ วิไลรัตน์. กระดูกต้นขาหัก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://ortho.md.chula.ac.th/student/SHEET/fxfemur.html. [สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2565].

วรรณี สัตยวิวัฒน์. [บรรณาธิการล. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส, 2561.

มรรยาท ณ นคร. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักได้รับการยึดตรึงด้วยวัสดุในร่างกาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.

พารุณี วงษ์ศรี, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2561;10(1):209-19.

กิรณา ภักดีฉนวน, ตาณิกา หลานวงค์, ประภาพร ชูกำเหนิด. การผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2565;42(2):34-47.

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์. การประยุกต์ใช้แบบแผนสุขภาพในการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบองค์รวมตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสาร สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(2):100-10.

กุลภัทร จุลสำลี. หลักพื้นฐานในกระดูกพื้นฐานกระดูกหักข้อเคลื่อน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.http://med.mahido.ca.th. [สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2565].

สมปรารถนา คลังบุญครอง. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักและมีโรคร่วมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(1):154-63.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29