การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบทคัดย่อ
ภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ทั้งก่อนการผ่าตัด หลังผ่าตัด และก่อนการจำหน่ายกลับบ้าน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
วิธีการศึกษา: เป็นกรณีศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 61 ปี มาด้วยอาการปวดเข่าซ้ายมาก เดินลำบาก เป็นมา 1 เดือน แพทย์ตรวจวินิจฉัยพบว่าข้อเข่าเสื่อมรุนแรง เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน 2565 ผู้ป่วยนอนรักษาโรงพยาบาล 4 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต และจากเวชระเบียนผู้ป่วย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง เข้ารับการรักษาเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้างซ้าย ก่อนการผ่าตัดพบว่ามีความดันโลหิตสูง ประเมินผู้ป่วยโดยใช้ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลตามรูปแบบของ NANDA พบปัญหาดังนี้ 1) ผู้ป่วยวิตกกังวลจากการขาดความรู้เรื่องโรค การผ่าตัด การปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด 2) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม 3) มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึก 4) เสี่ยงต่ออันตรายจากการสูญเสียเลือด 5) ไม่สุขสบายจากปวดแผลผ่าตัดเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด 6) มีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณข้อเข่า 7) มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก และ 8) ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน ผู้ป่วยกลับมาตรวจตามนัดอีกเมื่อ 2 สัปดาห์ 1 และ 3 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล พบว่าผู้ป่วยมีการฟื้นฟูสภาพเข่าซ้าย สามารถเดินโดยใช้วอล์คเกอร์ ประเมินคุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งสองข้างด้วย EQ5D5L พบว่าสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ร้อยละ 82.9 พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่ามากขึ้นกว่าก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทั้งสองข้างผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันและใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ
สรุป: หลังให้การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ตามทฤษฎีของกอร์ดอนและ NANDA แล้วพบว่าหลังการผ่าตัดมีความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ข้อเข่าติดและการติดเชื้อ ดังนั้นคำแนะนำที่สำคัญ คือ การบริหารข้อเข่าและการสังเกตอาการผิดปกติของการติดเชื้อ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย และฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดได้ดี
เอกสารอ้างอิง
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรคข้อเข่าเสื่อม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf
แจ่มจันทร์ เทศสิงห์, ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง, สาคร อินโท่โล่. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย. ราชาวดีสาร วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2563;10(1):80-90.
Cui A, Li H, Wang D, Zhong J, Chen Y, Lu H. Global, regional prevalence, incidence and risk factors of knee osteoarthritis in population-based studies. E Clinical Medicine. 2020 Dec; 29–30: 100587.
ณัชชา ตระการจันทร์, พัศจีพร ยศพิทักษ์. การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563;14(34):274-7.
Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. St. Louis: Mosby. 1994.
North American Nursing Diagnosis Association (NANDA) Nanda definition. Nursing Diagnosis. 1990;1(2):50.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติห้องตรวจศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ ประจำปี 2563-2565 ชัยภูมิ: เวชระเบียนห้องตรวจศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2565.
ภาวะดี ณ นคร. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563; 4(8):104-21.
จันทนา พัฒนเภสัช และคณะ. แบบสอบถาม คุณภาพชีวิต EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทย. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. 2558;3(24):1-4.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, สระทอง. ผ. การพยาบาลผู้สูงอายุโรค ข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(2):107-210.
ข้อเข่าบ่อเฒ่าก็เก่าได้. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.canva.com/design/DAFYNNJNPbc/9K0CSV6aPQRBsGfwSo8XtQ/view?utm_content=DAFYNNJNPbc&utm_campaign=designshare&utm_medium=link&utm_source=viewer#1
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ชัยภูมิเวชสาร (Chaiyaphum Medical Journal )
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.