งานวิจัยประเมินค่าดัชนีรังสี (EI) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ ช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 โรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ค่าดัชนีรังสี, ภาพถ่ายรังสีทรวงอก, ระบบดิจิทัล Mobileบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าดัชนีรังสีภาพถ่ายรังสีทรวงอก เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของบริษัทผู้ผลิต โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของผู้มารับบริการตั้งแต่ ปี พ.ศ.2563 – 2565 จำนวน 900 แผ่นภาพ (ปีละ 300 แผ่นภาพ) แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ช่วง คือ ปี พ.ศ.2563 ใช้ระบบดิจิทัล Mobile PHILIPS และ ปี พ.ศ.2564 – 2565 ใช้ระบบดิจิทัล Mobile FUJIFILM พรรณนาข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบช่วงภาพถ่ายรังสีที่เหมาะสมด้วยสถิติ Z-test สำหรับค่าสัดส่วน
ผลวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยใน ปี พ.ศ.2563 เมื่อใช้ Mobile PHILIPS พบว่าดัชนีรังสี (EI) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกอยู่ในช่วงที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานของบริษัท (Optimum 300 – 100) ร้อยละ 12.3 (95% CI: 8.6, 16.1) และร้อยละ 87.3 (95% CI: 83.6, 91.1) ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ มีค่า EI ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ (Under exposure EI > 300) ขณะที่ค่า EI สูงกว่าเกณฑ์ (Over exposure EI < 100) มีจำนวนค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 0.3 (95% CI: -0.31, 0.9) ทั้งนี้ ประมาณการณ์ค่าสัดส่วนดังกล่าวในประชากร ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) และใน ปี พ.ศ.2564 – 2565 ซึ่งใช้ Mobile FUJIFILM พบว่าค่า EI อยู่ในช่วงเกณฑ์ที่เหมาะสม ร้อยละ 21.2 (95% CI: 17.9, 24.4) และอยู่ต่ำกว่าช่วงมาตรฐาน ร้อยละ 0.3 (95% CI: -0.13, 0.8) ขณะที่ร้อยละ 78.5 (95% CI: 75.2, 81.8) อยู่ในช่วงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และเช่นเดียวกับบริษัท PHILIPS ค่าสัดส่วนดังกล่าว ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบในประชากร (p-value > 0.05)
การใช้งานดิจิทัล Mobile ของทั้งสองบริษัท ยังให้ค่า EI ในช่วงมาตรฐานค่อนข้างน้อย (ร้อยละ 12.3 – 21.2) และมีลักษณะสวนทางกันใน 2 บริษัท โดยของบริษัท PHILIPS มีสัดส่วนสูงในกลุ่ม Under และต่ำในกลุ่ม Over ขณะที่ บริษัท FUJIFILM ให้สัดส่วนสูงในกลุ่ม Over และต่ำในกลุ่ม Under ทั้งนี้ การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรผู้ใช้งานระบบ อาจต้องได้รับการพิจารณาปรับปรุง
เอกสารอ้างอิง
Rochmayanti D, Wibowo GM, Fatimah, Setiawan AN. Implementation of exposure index for optimize image quality and patient dose estimation with computed radiography (a clinical study of adult posteroanterior chest and anteroposterior abdomen radiography). Journal of Physics: Conference Series. 2019;1153:012032.
Schaefer-Prokop CM, De Boo DW, Uffmann M, Prokop M. DR and CR: Recent advances in technology. Eur J Radiol. 2009;72(2):194–201.
Uffmann M, Schaefer-Prokop C. Digital radiography: The balance between image quality and required radiation dose. Eur J Radiol. 2009;72(2):202–8.
Vano E, Fernandez Soto JM. Patient dose management in digital radiography. Biomed Imaging Interv J. 2007;3(2):e26.
Vaño E, Fernández JM, Ten JI, Prieto C, González L, Rodríguez R, et al. Transition from screen-film to digital radiography: Evolution of patient radiation doses at projection radiography. Radiology. 2007;243(2):461–6.
International Commission on Radiological Protection. Managing patient dose in digital radiology. A report of the International Commission on Radiological Protection. Ann ICRP. 2004;34(1):1–73.
Lanca L, Silva A. Evaluation of Exposure Index (IgM) in Orthopaedic Radiography. Radiat Prot Dosimetry. 2008;129(1-3):112-8.
Shepard SJ, Wang J, Flynn M, et al. An exposure indicator for digital radiography. American Association of Physicists in Medicine, College Park, Maryland. 2009;116:92.
Don S, Whiting BR, Rutz LJ, Apgar BK. New exposure indicators for digital radiography simplified for radiologists and technologists. AJR Am J Roentgenol. 2012;199(6):1337–41.
ภัทรทิยา หมอยา, นาตาชา แสงเพ็ชร, สิริกาญจน์ ธรรมดอน, เสริมศักดิ์ แสงเพ็ชร, ธวัช สิริวิลาสลักษณ์, ยะดา เสนาะสันต์. การประเมินค่าดัชนีวัดปริมาณรังสีในการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกเด็ก จากการสร้างภาพรังสีด้วยระบบดิจิทัล. วารสารรังสีเทคนิค. 2563;45(1):28-34.
จริญญา เต็งชัยภูมิ, จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย, เพชรากร หาญพานิชย์. การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานและเทคนิคการถ่ายภาพทางรังสี ในโรงพยาบาลหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;27(1):111-22.
บรรจง เขื่อนแก้ว, วิชัย วิชชาธรตระกูล, ปนัสดา อวิคุณประเสริฐ. การประเมิน S value ในการสร้างภาพทรวงอกท่า PA จากระบบการสร้างภาพรังสีด้วยคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่รับบริการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2555;47:23-9.
วีณา ผูกพานิช. "การประเมินค่าดัชนีวัดปริมาณรังสี ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ ด้วยระบบดิจิทัลโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก." ประชุมวิชาการรังสีเทคนิค ประจำปี 2566. สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิครามาธิบดี.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2024-01-12 (2)
- 2023-12-18 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.